1 เกล็ดไคเปอร์ Flakes Kuiper [พาร์เซก - เฟล็กซ์]
ปีแกแลกซี่ 660 - 2374 หลังการล่มสลายของอารยธรรมดวงดาวครั้งที่สาม
ฉันคือเรื่องราว ผู้เล่าเรื่องราว นำพาเรื่องราว กระทั่งฉันกลายเป็นเรื่องราว เมื่อฉันผู้ข้ามผ่านระยะทางแสนไกลได้พบเขา ดวงดาวอันตรายผู้ซึ่งทั่วทั้งเอกภพขนานนามว่า พาร์เซก
ดังนั้น เพื่อดุษฎีดาวเคราะห์สีฟ้าครามซึ่งฉันชื่นชอบที่สุด นามว่าโลก หรือ Area 51 ฉันจึงขอเลือกนำพาเรื่องราวต่างๆ ผ่านมุมมองภาษาของชาวโลก
ครั้งแรกที่ฉันพบเขา เขาไร้แสงและมืดมาก ขนาดเท่าเนปจูน ฉันพุ่งไปข้างหน้าราวแถบดาวหางโดยไม่ชะลอความเร็ว หลงคิดไปเองว่าเขาคือดาวฤกษ์ที่หมดอายุขัย ซึ่งตายแล้ว กระทั่งแรงโน้มถ่วงของเขาดึงดูดรูปขบวนทั้งหมดของฉันไป
DIN THINKR : เขียน
หมวดหมู่ : BL งานเขียนลำดับที่ 55.1
สงวนลิขสิทธิ์ทางปัญญา พ.ร.บ ลิขสิทธิ์ พ.ศ 2537
Flakes Kuiper
แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) หมายถึงบริเวณที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูน ด้านนอกระบบสุริยะรอบนอก มีบริเวณกว้าง 3,500 ล้านไมล์ มีก้อนวัตถุแข็ง เป็นน้ำแข็งขนาดเล็กจำนวนมากสร้างเครือข่ายโคจรรอบดวงอาทิตย์ ลักษณะคล้ายแถบดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี
วัตถุที่อยู่ในแถบไคเปอร์ มีชื่อเรียกว่าวัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object - KBO) หรืออีกชื่อหนึ่งคือวัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object - TNO) ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง เชื่อกันว่าก้อนน้ำแข็งเหล่านี้ เป็นแหล่งกำเนิดของดาวหางคาบสั้น ชื่อแถบไคเปอร์ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เจอราร์ด ไคเปอร์ ผู้ค้นพบ
วัตถุ iPTF14hls หรือ Zombie Star (ดาวฤกษ์ผีดิบ) คือซูเปอร์โนวาประหลาด ที่ทำการปะทุไปแล้วแบบนับไม่ถ้วน ซึ่งตามทฤษฎีดาราศาสตร์ปัจจุบัน : เมื่อดาวฤกษ์ดวงใดหมดอายุขัย มันจะระเบิดเป็นซูเปอร์โนวาปิดฉากชีวิตในการระเบิดแค่ครั้งเดียว แต่สำหรับดาวฤกษ์ดวงนี้ นอกจากระเบิดแล้วหลายหน แต่ละครั้งยังปลดปล่อยพลังงานกินเวลานานกว่าซูเปอร์โนวาทั่วไปถึง 6 เท่า จากนั้นดาวซอมบี้ก็กลับสว่างขึ้นอีกครั้ง และยังมีการเปลี่ยนแปลงความสว่างทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงแตกต่างกัน ซึ่งหมายความว่ามัน “ระเบิดแล้วระเบิดอีก”
ซึ่งจากการวิเคราะห์ แม้จะไม่สามารถยืนยันคำตอบถึงปรากฏการณ์ประหลาดนี้ได้แบบ 100% แต่ทำให้พอจะคาดเดาได้ว่า ก่อนการระเบิดครั้งแรก ดาวดวงนี้อาจเคยมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ 50 เท่า(หรือมากกว่า) เพราะพลังงานที่ปล่อยออกมาสูงกว่าที่คาดเอาไว้ในทางทฤษฎี
หลุมดำ (black hole) หมายถึงเทหวัตถุในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสง ยกเว้นหลุมดำด้วยกัน เราจึงมองไม่เห็นใจกลางของหลุมดำ หลุมดำจะมีพื้นที่หนึ่งที่เป็นขอบเขตของตัวเองเรียกว่าขอบฟ้าเหตุการณ์ ที่ตำแหน่งรัศมีชวาร์สชิลด์ ถ้าหากวัตถุหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าความเร็วแสงจึงจะหลุดออกจากขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุใดจะมีความเร็วมากกว่าแสง วัตถุนั้นจึงไม่สามารถออกมาได้อีกต่อไป
เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมหึมาแตกดับลง มันอาจจะทิ้งสิ่งที่ดำมืดที่สุด ทว่ามีอำนาจทำลายล้างสูงสุดไว้เบื้องหลัง นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า "หลุมดำ" เราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์ เนื่องจากหลุมดำไม่เปล่งแสงหรือรังสีใดเลย แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ และคลื่นโน้มถ่วงของหลุมดำ (ในเชิงทฤษฎี โครงการแอลไอจีโอ) และจนถึงปัจจุบันได้ค้นพบหลุมดำในจักรวาลแล้วอย่างน้อย 6 แห่ง
หลุมขาว (White hole) ในสัมพัทธภาพทั่วไป ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หลุมขาว เป็นพื้นที่สมมติชนิดหนึ่งในทางทฤษฎีของกาลอวกาศซึ่งไม่มีสิ่งใดสามารถเข้าไปได้ แต่สสารและแสงสามารถหนีออกมาได้ (ตรงกันข้ามกับหลุมดำ) หลุมขาวปรากฏอยู่ในทฤษฎีหลุมดำนิรันดร์ อย่างไรก็ตามการเกิดหลุมดำสามารถเกิดได้ผ่านการยุบตัวอันเกิดจากแรงโน้มถ่วง แต่หลุมขาวยังไม่สามารถเกิดได้ผ่านกระบวนการทางกายภาพที่รู้จัก
เส้นเมริเดียน (meridian, line of longitude) เส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ สร้างขึ้นจากการสมมติเส้นเมริเดียนปฐม มีค่ามุม 100 องศา ลากผ่านไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ด้านละ 180 องศา โดยเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันออกและ 180 องศาตะวันตก จะทับกันเป็นเส้นเดียวนี้ให้เป็นเส้นวันที่หรือเส้นแบ่งเขตวันระหว่างชาติ หรือเส้นแบ่งเขตวันสากล
เส้นเมริเดียนรอบโลก มี 360 เส้น แบ่งเป็นเส้นองศาตะวันออก 180 เส้น และเส้นองศาตะวันตก 180 เส้น ความสำคัญของเส้นเมริเดียน คือ บอกพิกัดของตำแหน่งที่ตั้งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกโดยใช้ร่วมกันเส้นขนาน (เส้นละติจูด) และใช้เป็นแนวแบ่งเขตเวลาของโลก
Flakes Kuiper / Discoverers a Comet / Genesis Black hole / Birth Big Bang / Deadly clouds
ตัวอย่างทดลอง อ่านจบที่ readAwrite ขออภัยในความไม่สะดวกครับผม
"ur welcome, Thanks for all the comments and ratings. Have fun."
*เหตุการณ์ สถานที่ เนื้อเรื่อง คือจินตนาการของผู้แต่ง โปรดใช้วิจารณญาณในการเสพสื่อ วรรณกรรมในมือท่านเป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อความบันเทิงเท่านั้น