ราชการลับ ตอนที่11Mossad
0
ตอน
474
เข้าชม
5
ถูกใจ
0
ความคิดเห็น
1
เพิ่มลงคลัง

 

"เอกสารนี้ อันตรายที่สุด เปิดเผยไม่ได้ เขียนโดยเคจีบีในไซบีเรีย จากเขตเนรเทศด้วยซ้ำไป ฉันเองกลับไปอีร์คุตสก์ไม่ได้" ดิมิตรารำพัน 

เธอรู้ว่าประเทศไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัสเซีย การเปิดเผยความลับที่เธอมีในประเทศนี้อาจทำลายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนี้" ตุลย์ชี้อันตรายในการเปิดเผยเอกสารลับ 

ดิมิตราลังเลสักครู่แล้วพูดว่า 

"ฉันรู้...จะพยายามไม่ให้เกิดเรื่องในนี้ ฉันขอลี้ภัยไปประเทศใดประเทศหนึ่งในยุโรปหรืออเมริกาเหนือที่มีสถานทูตอยู่ในประเทศของคุณ 

"พี่ชายคุณล่ะ จะว่าอย่างไร" สหชาติถาม 

"เดี๋ยวนี้ประเทศไทยคือบ้านของเขาแล้ว  เขามีธุรกิจที่นี่ ได้เมียคนไทยเขาคงไม่กลับไปบ้านที่รัสเซียอีก"      ดิมิตราตอบและยิ้มให้กับทุกคน 

ขณะที่ทุกอย่างควรจบอย่างไม่มีปัญหา สถานทูตสหรัฐอเมริกา ส่งอัลแลน เชียรเล่อร์มาพบสหชาติในล็อบบี้โรงแรมอิมพีเรียล ถามเขาตรงๆ 

"คุณพบสายลับเคจีบีที่มาจากไซบีเรีย พักโรงแรมอดามาสใช่ไหม?" 

"ข้อแรกนะเธอไม่ใช่เคจีบี ข้อสองผมเป็นคนขอพบเธอ และช่วยเธอจากคนร้ายที่ไปค้นห้องเธอเป็นพวกคุณซีไอเอ" สหชาติตอบด้วยความโกรธ 

"พวกค้นห้องไม่ใช่พวกซีไอเอ แต่เป็นพวกหน่วยสืบราชการลับอิสราเอล" อัลแลนพูดเสียงดังจนแขกในโรงแรมหันมามอง 

"มอสสาดมาเกี่ยวเรื่องอะไร" สหชาติตอบโต้ 

"นั่นแหละผมถึงมาที่นี่...ไปคุยที่ห้องกาแฟดีกว่า ไม่ใช่ให้ผมตะโกนในล็อบบี้" อัลแลนพูดแล้วเดินไปบริเวณจัดไว้สำหรับดื่มกาแฟ 

"ผมบอกคุณอย่างหนึ่งนะสหชาติ ผมรู้ว่า เคจีบีต้องการเอกสารลับชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับค่ายกักกัน พวกหัวแข็งในนั้นมีคนยิวอยู่สองสามร้อยคน  พวกยิวถูกทารุณอยู่มานานนับสิบกว่า ปีแล้ว" อัลแลนบอกความลับ "มอสสาดอยากได้รายชื่อพวกยิวใช่ไหม ตามล่าเอกสาร เคจีบีก็ต้องการทำลายเอกสาร" สหชาติย้อนตอบอัลแลน 

 

"คุณพูดถูก" อัลแลนพยักหน้า 

พิมราและตุลย์เข้ามาทักอัลแลนรู้ทันทีว่าเรื่องคงเกี่ยวพันดิมิตรา 

"ข่าวคุณไวจริงนะอัลแลน ไม่เหนื่อยหรือไง" พิมราทัก 

"ได้พบคนสวยอย่างคุณพิมราผมก็หายเหนื่อยแล้วครับ" อัลแลนหยอดคำหวาน 

สหชาติบอกอัลแลนว่าเรื่องราวของดิมิตราบานปลายกว่าที่คิด ประเทศที่ต้องการได้รายชื่อในเอกสารคือพวกมอสสาดในค่ายกักกันไซบีเรียมีนักโทษชาวยิวอยู่นับร้อยคน อาจมีปฏิบัติการช่วยเหลือนำคนชาวยิวออกมา 

สหชาติบอกว่าสหรัฐฯ ปฏิเสธว่าจะเกี่ยวข้องในทางปฏิบัติกับเรื่องนี้ แต่ได้รับรู้เรื่องดิมิตราและเชื่อว่าเธอเป็นเคจีบี ไม่ใช่ครูธรรมดา จากอีร์คุตสก์ ถ้าข่าวกรองซีไอเอว่าอย่างนั้น ต้องตรวจสอบอีกครั้ง 

"มันน่าคิด คนติดต่อดิมิตราตั้งแต่อีร์คุตสก์รวมทั้งที่โบสถ์สปาสคายาล้วนอยู่ในแวดวงใกล้ชิดเคจีบีหรือถูกติดตามโดยเคจีบีทั้งนั้น แถมยังถูก MI-6 ที่อังกฤษเฝ้าระวังเตือนให้รู้ว่าเธอมาประเทศไทย แม้ทางอังกฤษไม่ชัดเจนว่าเธอทำงานให้เคจีบีหรือไม่" ศิริเดชให้ความเห็น 

"ทั้งหมดนี้ไม่น่าเป็นไปได้เลย เอกสารอยู่ในมือเธอ ล้วนเป็นเอกสารเปิดโปงความเลวร้ายของเคจีบีทั้งหมด ไม่มีทางที่เคจีบีทำอย่างนั้นโดยแฉตัวเอง" สหชาติแย้งความเห็นของศิริเดช 

"ถ้ามันเป็นเอกสารปลอมเพื่อเธอไว้ต่อรองเพื่อลี้ภัยล่ะ" เป็นประเด็นเอกรินทร์ยกขึ้นมา 

"มองอย่างนั้นก็ได้ อย่าลืมว่าเหตุผลนี้ใช่ไม่ได้ ถ้ามันปลอมทำไมมอสสาดซึ่งต้องแม่นยำด้านข่าวกรองต้องการเอกสารชิ้นนี้เช่นกัน" สหชาติหาแง่มุมขึ้นมาแย้ง 

การถกเถียงประเด็นเอกสารนำไปสู่เรื่องดิมิตรา จะเอาอย่างไรทุกคนตั้งความหวังว่าเธอคงหาที่ลี้ภัยได้ในที่สุด 

"ฉันต้องปรึกษาเซอร์ไกก่อน เขาอาจให้คำแนะนำอย่างอื่นให้ฉัน" 

สองวันต่อมา เซอร์ไกพร้อมผู้หญิงไทย เขาพาร่างพุงพลุ้ย ศีรษะล้านไปครึ่งหัวท่าทางเดินเหมือนเจ้าพ่อมาที่เคาน์เตอร์โรงแรม ให้ติดต่อน้องสาวในห้องพัก 

ดิมิตราลงมาพบพี่ชาย ทักทายด้วยการจูบแก้มซ้ายขวากอดกันตามประสาพี่น้อง 

ดิมิตราถอยห่างออกมา เพ่งมองพี่ชายแล้วพูดว่า 

"ฉันจำพี่ไม่ได้ ตัวโตพุงใหญ่ หัวล้าน ทำงานหนักสิท่า" 

"รู้จักจวงจันทร์เมียพี่ ช่วยกันทำงานที่ร้าน" 

จวงจันทร์ยกมือไหว้ จ้องหน้าดิมิตราพูดว่า "พี่หน้าตา ไม่เหมือนในรูป ตัวจริงสวยกว่ารูป" 

เซอร์ไกถามถึงปาสชา นักกวีเพื่อนที่ติดคุกในไซบีเรีย ดิมิตราบอกว่าลุดมิร่า ผู้หญิงที่มีลุงไปค่ายกักกันได้ฟังความทารุณโหดร้าย ปาสชาต้องทนอยู่ในฤดูหนาวอันเจ็บปวด ทั้งฝากบทกวีให้พี่ชายช่วยเผยแพร่ในโลกตะวันตก เซอร์ไกขอบใจที่น้องสาวนำข่าวมาฝาก ให้เธอเอาเอกสาร บทกวีทุกสิ่งทุกอย่างที่นำมาจากอีร์คุตสก์ฝากไว้กับเขา 

ดิมิตรายอมให้เอกสารไปไม่ได้ แต่จำเป็นต้องใช้ มันเป็นส่วนหนึ่ง ไว้อ้างในการขอลี้ภัย เซอร์ไกบอกน้องสาวว่าเธอไม่จำเป็นต้องไปไหน ดิมิตราอยู่กับเขาได้อย่างสบาย เขามีรายได้จากการทำร้านอาหารขายเบียร์และเหล้าได้เงินถึงเดือนละ 2 ล้าน 5 แสนบาท มีทั้งหมด 3 ร้านที่พัทยา เดือนหนึ่งมีเงินหมุนเวียนเกือบ 8 ล้าน ปีละ 100 ล้าน เลี้ยงดิมิตราสบายมีความสุขไปตลอดชีวิต 

"พี่เขามีอิทธิพลมาก ไม่เฉพาะกับคนรัสเซียในพัทยา  พวกฝรั่งทุกชาติต้องพึ่งเขาทั้งนั้น มีปัญหาอะไรเขาช่วยได้ทุกคน" จวงจันทร์ย้ำคำพูดของเซอร์ไก 

"ฉันจะไปอยู่กับเพื่อนในอังกฤษ เธอเป็นครูอยู่ที่นั่น" ดิมิตราบอกพี่ชาย 

"โธ่เอ๋ย...อยู่กับพี่สบายๆ อังกฤษมีอะไร อากาศก็แย่ คนอังกฤษมีแต่พวกหยิ่งยะโสทำตัวเป็นผู้ดี" เซอร์ไกพูดอย่างผิดหวัง 

"ฉันกลับรัสเซียไม่ได้ เอกสารนี้ทำให้ฉันกลับไม่ได้" 

"เอาเอกสารมาให้พี่ซะ ลืมเรื่องนี้ทั้งหมด พี่ให้เธอ 20 ล้าน เธอเลือกเอา อยู่กับพี่หรือจะอยู่กับเพื่อน" เซอร์ไกยื่นคำขาด 

ดิมิตราไม่ตอบ ไม่แม้แต่จะขอบใจ เธอลาเซอร์ไกไว้แค่นั้น ขอตัวไปห้องพักบอกจะพักผ่อน บอกพี่แล้วจะติดต่อไปใหม่ ถามพี่ชายเธอว่าเขาอยู่ไหน 

"เกสต์เฮาส์ถนนข้าวสาร" เซอร์ไกตอบสั้นๆโมโห เดินออกจากโรงแรม 

                                   ............................... 

บ่ายวันนั้นสมาชิกโคซิโอลงมารับประทานของว่าง ดื่มกาแฟ นั่งอยู่ในห้องนั่งเล่น ดิมิตราเดินมาร่วมคุยด้วย บอกว่ามีเรื่องต้องการคำปรึกษา เรื่องที่เซอร์ไกชวนอยู่เมืองไทย กับให้เงิน 20 ล้าน มีอิสระที่จะอยู่ที่นี่ หรือไปลอนดอนอยู่กับเพื่อน หางานให้เธอ และเธอสบายใจ ไม่เป็นภาระกับเซอร์ไก 

"แต่ฉันต้องทิ้งเอกสารลับทั้งหมดไว้ให้เขา จะใช้มันให้เป็นประโยชน์ไม่ได้อีกต่อไป อยู่กับฉันมันอันตรายต่อชีวิต" 

ชีวิตสำคัญกว่าสิ่งอื่นทั้งหมด เป็นความเห็นของสมาชิกโคซิโอ ดังนั้นเรื่องเธอไปลี้ภัยที่อังกฤษและอยู่กับเพื่อนดูเหมือนเป็นทางออกที่ดีที่สุด 

หลังจากได้ฟังเหตุผลจากเพื่อนชาวไทย ดิมิตราก็คล้อยตาม วันรุ่งขึ้นเธอโทรศัพท์ถึงเซอร์ไกตอบตกลงตามเงื่อนไขที่เขาเสนอมา เธอรับว่าไปอยู่ลอนดอนกับเพื่อน 

เซอร์ไกบอกให้เธอมาหาที่แกรนด์เกสต์เฮ้าส์ ถนนข้าวสารในวันรุ่งขึ้นพร้อมนำเอกสารทั้งหมดมาด้วย 

.....วันรุ่งขึ้นดิมิตรามาที่แกรนด์เกสต์เฮ้าส์ พบเซอร์ไกและจวงจันทร์เตรียมตัวเดินทางกลับพัทยา 

เธอมอบเอกสารลับทั้งและของพ่อ เอกสารที่พ่อสารภาพความโหดร้ายวิจารณ์ผู้นำประเทศหลายคนรวมทั้งบทกวีที่ปาสชาเขียนให้เซอร์ไก 

เซอร์ไกยื่นเช็คเงินสดให้ฉบับหนึ่งให้เธอไปเปิดบัญชีธนาคาร เขาบอกว่าถ้ายังไม่ไปลอนดอนเร็วๆ นี้ หากจำเป็นต้องใช้เงิน เซอร์ไกควักเงินสดให้เธอปึกหนึ่งเกือบแสนบาทให้ดิมิตราไว้ใช้ 

"ถ้ามีเวลา ไปเยี่ยมพี่ก่อนไปอังกฤษก็ได้นะ" เซอร์ไกควักนามบัตรที่อยู่ในพัทยาให้น้องสาว 

.....เซอร์ไกเช่ารถยนต์ออกเดินทางพร้อมจวงจันทร์ไปพัทยา เช้าวันที่ 10 ธันวาคม 2531 โดยมีคน 

เฝ้าดูเขาออกเดินทางจากแกรนด์เกสต์เฮ้าส์เงียบๆผู้ชายชายคนนั้นมีลักษณะเป็นทหารเฝ้ามอง   เซอร์ ไก เขายังเหลือบมองดิมิตราเมื่อเธอเรียกแท็กซี่ออกจากถนนข้าวสาร   เขาคนนั้นยกโทรศัพท์กดเบอร์หมายเลขโทรต่างประเทศ พูดรหัสสองสามคำ ขยับคอเสื้อตั้งตรง ก้มหน้าเดินข้ามถนนตรงไปยังถนน    รามบุตรีไปพบชายอีก 2 คนนั่งรถทะเบียนสถานทูตประเทศอิสราเอล วิ่งออกจากย่านบางลำพูไปทางอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 

                                              .................................. 

คืนวันที่ 10 มกราคม 2532 เวลาตีสอง 

เหนือท้องฟ้าไซบีเรียตะวันตก คืนวันนั้นดวงจันทร์ฉายแสงสว่างลงแตะพื้นดิน หิมะโปรยลงมาเป็นสาย ริ้วละอองร่วงหล่นลงมากลางป่าสนหนาทึบที่เรียงรายเป็นระเบียบอันกว้างใหญ่ไพศาล 

เครื่องบินลำเลียงไม่ปรากฏสัญชาติปล่อยทหารพลร่มกว่าสี่สิบคนลงจากฟากฟ้ามาสู่พื้นดินอย่างเงียบเชียบ เมื่อร่มกางมันเป็นสีเทา เหมือนดอกเห็ดตัดเต็มฟ้าตัดกับแสงจันทร์ ล่องลอยตามลมมาทางทิศตะวันตก ป่าสนเมื่อต้องลม ส่งเสียงผ่านใบในป่าดังหวิวๆ หิมะโรยตัวเกาะใบสนขาวโพลนตามลำต้นและตกหนักบนถนนตัดผ่านกลางป่าซึ่งยังมีหิมะปกคลุมอยู่หนาทึบ พลร่มสี่สิบนายเมื่อเท้าแตะพื้นก็เก็บร่มอย่างรวดเร็ว  

..... ...............ค่ายกักกัน 5 เมืองในไซบีเรียตะวันตก ถูกคอมมานโดมอสสาดพรางตัวค่อยๆคืบคลานประชิดรั้วใช้คีมตัดลวดหนามแล้วค่อยๆวิ่งเข้าไปภายในค่ายกักกันจากนั้นวิ่งหลบไปหาที่กำบังติดเรือนคุมขังนักโทษ มอสสาดส่วนหนึ่งใช้ปืนสังหารทหารโซเวียตที่ยืนเฝ้ายามบนป้อมค่ายกักกันทุกมุมรั้ว มอสสาดส่วนที่เหลือยึดประตูทางเข้าตัดวงจรสายไฟฟ้าสำหรับสัญญานเตือนภัย                             .................................................. 

.....โอเปอเรชั่น-อีร์คุตสก์-โอบลาสครั้งนี้ได้ข้อมูลข่าวกรองส่วนสำคัญจากสิทธิเดช บุณฑริกาผู้อำนวยการ สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ เริ่มต้นด้วยการค้นหาโรงเรือนกักขังนักโทษหลายเรือน ทหารมอสสาดอ่านรายชื่อเรียกเรียงตัวเป็นรายบุคคล...... 

...เก็ตส์..คูนิส..คาเซ็นเบิร์ก..จาสชา..มอร์เกนเทาว์..รูเบนสตีน......อาบิรา....บินยามิน...ชีราม....เอลซี...ฮาอิม... อิมลาห์...อิสูห์....จาฟฟ่า.................ต่อไปเรื่อยๆตามบัญชีรายชื่อลับที่นำติดตัวมา.มอสสาดทำอย่างนี้ในทุกค่ายกักกัน    

การปลดปล่อยเชลยชาวยิว 253 คนในค่ายกักกัน 5 แห่งห่างกัน กระทำโดยพร้อมเพรียงกันและเป็นไปฉับพลันทันที จากคอมมานโด มอสสาด วันและเวลาเดียวกันใช้เวลาเป็นวินาทีอย่างรวดเร็ว 

รถบรรทุกทหารเคลื่อนตัวออกจากค่ายกักกันสักครู่จึงเปิดไฟหน้ารถ มันขับฝ่าหิมะที่โปรยลงมาจากฟ้าที่มืดทึบ เมื่อเมฆบดบังจนมิดแสงดวงจันทร์ เหลือเพียงความสว่างจากแสงไฟหน้ารถ ส่องสว่างเห็นทางแคบป่าสนสูงขนาบอยู่สองข้างทาง ปกคลุมถนนด้วยหิมะที่เริ่มตกหนักโรยหนาบนถนนตัดตรง รถบรรทุกยังคงทำความเร็วสม่ำเสมอ วิ่งทำเวลาตรงไปยังสนามบินอีร์คุตสก์ตามเวลานัดหมาย 

ไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่ง ปฏิบัติการอีร์คุตสก์-โอบลาสก็สำเร็จลุล่วงตามภารกิจลับสุดยอด ที่สนามบินพวกเขา รอเครื่องบินทหาร2ลำ จากเทเลอาวีฟ อิสราเอลให้ลงสนามบินตามเวลานัดหมาย  เมื่อเครื่องบินลงจอดและการขนผู้โดยสารที่เคยเป็นนักโทษชาวยิวในค่ายกักกันทะยอยกันขึ้นเครื่องบินทั้งหมดแล้ว  เครื่องบินทหารซึ่งลำเลียงนักโทษชาวยิวทั้ง253คนก็บินออกจากสนามบินอีร์คุตส์ทะยานสู่น่านฟ้า เป็นการสิ้นสุดปฏิบัติการ ก่อนรุ่งสางของวันใหม่ วันที่ 11 มกราคม 2532  

                                   ...................................

             ในวันเวลาใกล้เคียงกัน.....วันที่ 11 มกราคม 2532 พัทยาตามเวลา 5.30. ประเทศไทย 

เซอร์ไก ซัคคารอฟเจ้าของร้านอาหารและบาร์เบียร์ 3 แห่งในพัทยาถูกทหารไม่ทราบสัญชาติและจำนวน ระดมยิงทิ้งอย่างโหดเหี้ยม เขาเสียชีวิตตอนเช้ามืดตามคำบอกเล่าของนางจวงจันทร์ ภรรยาผู้เห็นเหตุการณ์ ซึ่งเปิดเผยในภายหลังว่าไม่มีทรัพย์สินสูญหาย ยกเว้นเอกสารเก็บไว้ในตู้เซฟถูกเปิดและนำออกไปโดยทหารนิรนามกลุ่มนี้ เพื่อนชาวรัสเซียระบุว่าเซอร์ไกเป็นหัวหน้าเคจีบีจากรัสเซียอยู่ในประเทศไทยหลายปีแล้ว                            ................................... 

.....วันที่ 12 มกราคม 2532 มหานครลอนดอน 

ดิมิตรา ซัคคารอฟ บรรณารักษ์ห้องสมุดเอกชน ถนนปาร์คเลน ถูกพบเป็นศพในอ่างอาบน้ำบนแฟลตย่านเมย์แฟร์ ตำรวจสรุปว่าเธอเสียชีวิตด้วยสาเหตุหัวใจล้มเหลวขณะอาบน้ำในตอนค่ำ ก่อนหน้านี้มีเพื่อนบ้านคนเห็นผู้ชายคนหนึ่งเข้าไปในที่พักผู้เสียชีวิต 

ไม่มีใครสงสัยเลยว่าชายคนนั้นคือเคจีบีปฎิบัติการอยู่ในลอนดอนเป็นคนลงมือฆ่าดิมิตราด้วยการกดหัวเธอจมอ่างอาบน้ำจนสิ้นใจตาย ในห้องตำรวจลอนดอนพบบทกวีที่เธอเขียนเป็นภาษารัสเซียถอดออกมาความไว้ดังนี้....... 

           .............ฉันเห็นนกกระยางขยับปีกบิน 

                       เหนือทะเลสาบยามรุ่งอรุณ 

                       ดอกไม้เหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่ง 

                       ตัดกับสีเขียวขจีพื้นหญ้ากว้างใหญ่ 

                       ฉันเดินไปยังหุบเขาเบื้องหน้า 

                       มุ่งหาความฝันอันยาวนาน 

                       คือความตายบนทุ่งหญ้าที่ฉันรอคอย......... 

 

17 มกราคม 2532 โรงแรมอิมพีเรียล กรุงเทพฯ 

"เป็นไปไม่ได้...พี่น้องมาตายพร้อมกัน" พิมราทราบข่าวจากเพื่อนที่ลอนดอน เธออ่านหนังสือพิมพ์รู้ว่าพิมรา รู้จักผู้ตาย รีบรายงานทางโทรศัพท์ให้พิมราทราบ 

"ข่าวเซอร์ไกเป็นเคจีบีไม่น่าตกใจ มันถึงคาดคั้นเอาเอกสารลับจากดิมิตราให้ได้" ศิริเดชซึ่งตามข่าวจากพัทยา วิจารณ์ว่าเขาเคยสงสัยทำไมเซอร์ไกพยายามต่อรองเงิน 20 ล้านกับเอกสารลับจากน้องสาวตลอดเวลา 

"ใครได้เอกสารและใครยิงเซอร์ไก" เอกรินทร์ถาม 

"ไม่ต้องเดาเลย ปฏิบัติการกึ่งทหารมอสสาด" สหชาติเชื่อมั่น 

"ชื่อชาวยิวในเอกสารลับ ถึงมือมอสสาดก่อนโอเปอเรชั่นอีร์คุตสก์-โอบลาสได้อย่างไร คุณคุยกับใครสหชาติ" ศิริเดชถามตุลย์ก็เริ่มเอะใจ 

"เอาจริงนะ...ผมเคยบอกหัวหน้าสิทธิเดช...นั่นข่าวรั่วน่าจะส่งตรงเลยละ ถึงอิสราเอลผ่านเพื่อนของท่านซึ่งเป็นรัฐมนตรีกลาโหม...ตายละ ตามตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมคุมหน่วยสืบราชการลับมอสสาดไงล่ะ" สหชาติเล่าเรื่องเอกสารลับดิมิตราให้เอกสาร เขาถ่ายสำเนาไว้ชุดหนึ่งและมอบให้สิทธิเดชเก็บไว้พร้อมเล่าถึงที่มาให้ฟังอย่างละเอียด สิทธิเดชรับทราบ ตุลย์เดินมาตบหลังสหชาติเบาๆ 

"นายน่าจะเป็นต้นเหตุให้มีคนตาย ทั้งที่พัทยาและลอนดอนก็ได้นะสหชาติ" 

                                   ...................................... 

สัปดาห์ต่อมาสหชาติได้รับพัสดุ จากลอนดอน ข้างในเป็นภาพถ่ายหลายใบ ใส่ในอัลบั้มสีแดงภาพหลายใบ ภาพเมืองเล็กๆ ถนนชื่อภาษารัสเซีย อาคารบ้านเรือน ร้านอาหาร ร้านกาแฟ สนามเด็กเล่นและโบสถ์ บางภาพเป็นรูปจตุรัสคีรอฟและโบสถ์สปาสคายา มีลายมือดิมิตราเขียนกำกับเป็นภาษาอังกฤษ 

อีกซองหนึ่งเป็นภาพของเธอกับสุภาพสตรีในวัน 30 ต้นๆ มีชื่อเขียนว่าอิริน่า คาลยาจิน หลายรูปถ่ายในห้องสวดวิหารสปาสคายา บางรูปถ่ายที่บ้านดิมิตราในเมืองเชเลคคอฟและรูปถ่ายเธออยู่สุขสบายกับเพื่อนชื่อในวงเล็บ(มิลานา บาซานอฟ)ในประเทศอังกฤษแต่เธอรู้ว่ายังมีภัยคุกคามเธออยู่

จดหมายอีกฉบับหนึ่ง ถึงผู้จัดการธนาคารกรุงไทยสาขาถนนข้าวสารเกี่ยวกับเงินฝากในบัญชีออมทรัพย์, สมุดบัญชีเอกสารสำคัญต่างๆ สำเนาพาสปอร์ตขณะที่เธอเดินทางเข้าออกประเทศไทย หนังสือถึงสหชาติและภาพถ่ายเขากับเธอที่โรงแรมอิมพีเรียลยืนยันตัวตนเขาและถึงผู้จัดการธนาควรกรุงไทยแนะนำตัวสหชาติ เธอขอถอนเงินจากบัญชีในกรณีเสียชีวิตหรือพิสูจน์ว่าเป็นบุคคลสูญหายติดตามไม่ได้ตามเวลาที่กฎหมายรัสเซียหรืออังกฤษกำหนด

จดหมายฉบับหนึ่งเขียนถึงเขาขอบคุณในมิตรภาพ ขอให้เขาปฏิบัติตามคำขอและนำเงินไปใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์

สหชาติรู้ดีว่าเขาจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง ประการแรกเขาไม่สามารถแสดงตัวตนโดยเปิดเผยกับเจ้าหน้าที่ธนาคารได้ หนทางที่ทำได้ ต้องทำบัตรประชาชนขึ้นมาใหม่ ปลอมขึ้นมา ถ่ายโอนเงินจากบัญชีของดิมิตราเข้าสู่บัญชีของโคซิโอซึ่งใช้ชื่อในนามที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการ "เฉพาะกิจ"

ประการต่อมาเขาต้องการเดินทางไปพบอิริน่า เธอดูแลบ้านดิมิตราอยู่ที่เชเลคคอฟ เขาจะคืนรูปถ่ายและของส่วนตัวที่เหลือในลอนดอน และดิมิตราทิ้งไว้ในแฟลต ให้อิรินาเก็บไว้ที่บ้านเชเลคคอฟ

เขาอยากพบอิริน่าเพราะสหชาติจะได้พบกับตัวตนดิมิตรา ที่แท้จริงเสียทีเพราะบัดนี้เขาเริ่มไม่แน่ใจว่ารู้จักว่าเธอคือใครกันแน่

สหชาติใช้เวลาสองสัปดาห์จัดการเรื่องเงินของดิมิตราในธนาคารถอนเงินบางส่วนสำรองออกมาให้อิริน่าล้านบาท ที่เหลือ 12 ล้านโอนเข้าบัญชีลับของโคซิโอ

เมื่อทำธุระเรื่องเงินเสร็จ ของส่วนตัวของดิมิตราเหลือจากแฟลตชิ้นสำคัญ จัดการใส่กระเป๋าเดินทางขนาดเล็ก สองใบเตรียมไว้เดินทางไปเชเลคคอฟบ้านเกิดของดิมิตรา

สายการบินจากกรุงเทพสู่อีร์คุตสก์มีให้เลือกหลายสายการบินตั้งแต่แอร์โรฟลอต, โคเรียนแอร์และสายการบินภายในภูมิภาครัสเซีย สหชาติเลือกยูรัลแอร์ไลน์ เขาเดินทางพร้อมตุลย์ได้บัตรโดยสารคนละ 9,000 บาทชั้นประหยัดราคาถูกที่สุด

สายการบินยูรัลแอร์ไลน์ใช้เวลา 6.25 ชั่วโมงถึงสนามบินอีร์คุตสก์-โอบลาส สหชาติและตุลย์เข้าพักที่โรงแรมอเวซตาอยู่ในเมืองห่างจากแม่น้ำอังการาแค่หนึ่งกิโลเมตร เดินเล่นออกกำลังกายท่ามกลางอากาศหนาว ราคาห้องพักธรรมดาราคาเพียง 1700 บาทสำหรับ 2 เตียง 2 คน

หลังพักอยู่แค่หนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นสหชาติเช่ารถยนต์แต่เช้า เขากับตุลย์ขับรถหาร้านกาแฟเพื่อดื่มกินอาหารเช้า พบร้านโกฟีย่า มีประตูแดงตั้งอยู่ใต้ร่มไม้ดูร่มเย็น ทั้งสองคนสั่งแพนเค้กและเอ็กเปรซโซ่รองท้อง

เมืองเชเลคคอฟเป็นเมืองในเขตอีร์คุตสก์ ห่างไป 20 กิโลเมตร ตัวเมืองอยู่ในทุ่งราบระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คืออีร์คุตและโอฮา มีประชากรประมาณ 4 หมื่นคน

รถยนต์ขับออกนอกเมืองเพียง 15 นาทีก็ถึงเขตเชเลคคอฟ ตามจดหมายที่ดิมิตราให้ไว้ เลขบ้านเธอ 18 ถนนโกกอล 666033 สหชาติใช้เวลาไม่นานก็พบ ตุลย์ให้จอดรถยนต์ไว้ริมถนน

บ้านเลขที่ 18 ถนนโกกอลเป็นอาคารชั้นเดียวเป็นบ้านที่รัฐจัดสร้างเป็นสวัสดิการให้ประชาชนยุคคอมมิวนิสต์ก้าวสู่มหาอำนาจ บ้านมีขนาดใหญ่เทอะทะ ภายนอกมีสนามหญ้ากว้างขวาง ติดกันเป็นบ้านเว้นระยะห่างนับสิบหลัง สร้างรูปทรงเดียวกันขนาดเท่ากันหลายแถว

สหชาติและตุลย์ เคาะประตูบ้าน พักเดียวก็มีผู้หญิงหน้าตาห่อเหี่ยวหมดความหวัง เดินมาเปิดประตูเธอตกใจไม่คาดคิด และประหลาดใจที่พบชาวเอเซียสองคนยืนอยู่หน้าประตูบ้าน

"ขอโทษครับคุณอิรินา" สหชาติจำเธอได้จากรูปถ่าย แต่ไม่ใช่ในร่างทรุดโทรมถึงเพียงนี้

"ผมมีของฝากจากคุณดิมิตราครับ"

"ดิมิตรา...ใช่สิ ฉันไม่ได้พบเธอนานมากแล้ว" แววตาเธอดูมีประกายขึ้นบ้าง เมื่อได้รับเชิญเข้าข้างใน สหชาติและตุลย์เห็นสภาพห้อง เรียบด้วยเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น โซฟามีรอยฉีกขาด ไม่มีรอยซ่อม โต๊ะรับแขกขาเก ผ้าปูพรมเก่า ไม่เก็บความอุ่นในฤดูหนาว ภาพแขวนรูปฝูงม้ากลางทุ่งหญ้าห่างไกลในไซบีเรีย

"อิรินา...ผมมีข่าวร้ายแจ้งให้ทราบ ดิมิตราเสียชีวิตแล้ว..ที่ลอนดอน.ประเทศอังกฤษ ไม่นานมานี้"

ผู้หญิงตรงหน้าสหชาติและตุลย์ รับข่าวอย่างเยือกเย็น เธอค่อยๆ ลุกขึ้นยืน เดินไปเกาะที่หน้าต่างแหงนหน้ามองดุท้องฟ้าไร้รอยเมฆ นกกระยางหลายตัวบินข้ามท้องฟ้าไปยังแม่น้ำอังการาที่ไหลเอื่อยๆ

"ฉันคิดเสมอว่ามันต้องมีวันนี้" อิรินาพูดเบาๆ

"เคจีบีทุกคน มีวันตายทุกคน ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย โธ่...ดิมิตราพวกเคจีบีมันฆ่า...ไม่เว้นแม้แต่เธอ" อิรินาพูดเบาเหมือนกระซิบ

"พวกเราเสียใจ เธอเหมือนเพื่อนเราคนหนึ่ง" ตุลย์พูดเบาๆ

"รู้หรือไม่ ตระกูลซัคคารอฟเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาชั่วอายุคน ตั้งแต่ปู่ย่าตายาย พ่อแม่พี่น้องเป็นคอมมิวนิสต์กันทั้งบ้าน พวกเขาเชิดชูมาร์กซ์-เลนิน..........รวมทั้งทรราชสตาลิน 

พ่อ...พี่ชายรวมทั้งดิมิตราเป็นสมาชิกพรรค เป็นเคจีบีทั้ง 3 คนตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย....ดิมิตรายังเป็นสหายดีเด่น เธอฉลาดที่สุดในบรรดาเพื่อนร่วมชั้น เธอจัดหานักศึกษาเรียนดี หัวสมองยอดเยี่ยมคัดไปเข้าโครงการ เป็นเคจีบีจนได้รับรางวัลและคำชมเชยทุกปี 

พรรคคอมมิวนิสต์รวมทั้งพ่อเธอทำให้ดิมิตราผิดหวัง พี่ชายเธอไปตั้งเครือข่ายเคจีบีในประเทศไทย หลังพ่อแม่เสียชีวิต ดิมิตรากับฉันพบกันบ่อย ระยะหลังๆเธอเบื่อชีวิต ต้องทนอยู่กับความปลิ้นปล้อนของพวกสหายนำ  มีอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นแต่เธอไม่มีความสุขเลย 

เธออยากออกจากสถานภาพการเป็นเคจีบีแต่ทำไม่ได้ มันมีข้อจำกัดจากพรรค เธออยากใช้ชีวิตในตะวันตก" อิรินาระลึกความทรงจำระหว่างเธอกับดิมิตรา 

"เอกสารลับของพ่อนั้นเป็นเพียงส่วนเดียว จดหมายสารภาพด่าพรรคและผู้นำคอมมิวนิสต์เธอบอกฉันเองว่าทำปลอมขึ้นให้พวกตะวันตกเชื่อ ตัวเองจะได้พ้นพันธะจากขบวนการเคจีบีและมีโอกาสขอลี้ภัย" 

หลังถามไถ่ความเป็นอยู่ของเธอในเชเลคคอฟอยู่พักใหญ่ สหชาติก็นำเงินหนึ่งล้านมอบให้อิรินา 

"ดิมิตราเขียนหนังสือสั่งเสียไว้ก่อนตายให้มอบเงินส่วนนี้เแก่คุณ ผมขอบคุณที่ให้เกียรติรับเงินจากดิมิตรา ผมทำหมดทุกอย่างตามที่เธอประสงค์แล้วครับ" 

สหชาติลาอิรินา หลังจากนั้นตุลย์กับเขาขึ้นรถกลับโรงแรมอเซดาในเมืองอีร์คุตสก์ระหว่างทางก็คุยกันเรื่องที่รับรู้จากอิรินา 

"น่าสงสารดิมิตรา...เธอเป็นเคจีบีจนวันตายที่ทางอังกฤษ เคจีบีสงสัยติดตามเธอตั้งแต่แรก เราเองไม่เฉลียวใจ ท่าทางเธอไม่บอกเลยว่าทำงานด้านนี้ ต่างกับพี่ชายเธอคนละบุคลิกเลย หมอนั่นดูมีอิทธิพลเหมือนเจ้าพ่อมาเฟีย" ตุลย์ให้ความเห็นหลังจากรู้จักดิมิตราและพบพี่ชายเธอ 

"ดิมิตราลึกซึ้งมากกว่า สามารถปลอมจดหมายพ่อ ยังพร้อมให้พี่ชายไปติดกับด้วย" สหชาติคุยกับตุลย์ในฐานะผู้ใกล้ชิดกับดิมิตรามากกว่าคนอื่นในทีม 

เที่ยวบินจากอีร์คุตสก์ถึงกรุงเทพใช้เวลา 6 ชั่วโมงครึ่ง สหชาติและตุลย์กลับเข้าโรงแรมอิมพีเรียลตรงเข้าห้องพักและใช้เวลานอนทั้งวัน 

                                   ..................................... 

                                   . . . 31 มกราคม 2532 . . . 

...สถานทูตอิสราเอลโดยเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยเป็นสักขีพยาน 

มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอิสราเอลโมเช แอเร็นส์ เดินทางจากอิสราเอลเพื่อทำพิธีมอบเหรียญเดวิด เบน-กูเรียนในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อประชาชนอิสราเอลให้กับนายสิทธิเดช บุณฑริกา ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เป็นที่รู้กันภายในว่านายสิทธิเดชมีส่วนให้ข้อมูลอย่างละเอียดรวมทั้งรายชื่อชาวยิวในค่ายกักกัน 5 แห่งในไซบีเรียทำให้โอเปอเรชั่น-โอบลาสประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ 

การฉลองความยินดีหลังพิธีมอบเหรียญที่สถานทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยกระทำกันอย่างเงียบๆ    

                                   ............................................ผู้บริหารสี่หน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศได้จัดงานเลี้ยงแสดงความยินดีเป็นการภายในให้กับผู้อำนายการสิทธิเดช บุณฑริกาในโอกาสได้รับเหรียญเดวิด เบน-กูเรียน ณ โรงแรมฮิลตัน ปาร์คนายเลิศหลังงานที่สถานทูตอิสราเอลหนึ่งอาทิตย์ นอกจากผู้บริหารสี่หน่วยงานแล้วก็มีสมาชิกโคซิโอทั้งสี่และพิมราเท่านั้นที่ได้รับเชิญ และงานเลี้ยงครั้งนี้จัดขึ้นเป็นการภายในอย่างแท้จริง        "ผมทราบว่ามีภารกิจอีร์คุตสก์-โอบลาสก็ต่อเมื่อมันประสบความสำเร็จแล้ว และต้องขอบคุณสหชาติด้วยเหรียญเดวิต เบน-กูเรียนควรเป็นของเขาครึ่งหนึ่ง"     สิทธิเดชมีน้ำเสียงในคำพูดด้วยความจริงใจ และกล่าวขอบคุณเพื่อนร่วมงานที่จัดงานนี้เพื่อเขา พลตำรวจเอกเกรียงไกร บูรณะธรรมกล่าวถึงการทำงานของหน่วยสืบราชการลับเคจีบีในประเทศไทยว่ายังมีส่วนที่เหลืออยู่ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองที่สำคัญหาข่าวทางการเมืองการค้าการทหารแข่งขัน 

กับหน่วยข่าวอเมริกันอังกฤษและอิสราเอล ทั้งสามประเทศให้ความสนใจไทยมาก หลังจากไทยมีความสัมพันธ์เปิดกว้างในกลุ่มประเทศอาหรับในตะวันออกกลาง 

"ไทยเป็นศูนย์กลางของข่าวกรองระดับภูมิภาคนี้มาตั้งแต่ยุคอยุธยา แล้วยิ่งสมัยล่าอาณานิคมอังกฤษ และฝรั่งเศสต่างต้องการมีอิทธิพลในย่านนี้ใช้สายลับหลายหน้าสืบความเคลื่อนไหวของแต่ละฝ่ายโดยเฉพาะฝ่ายไทยด้วย" พลตำรวจเกรียงไกรเล่าถึงความเป็นมาในอดีต 

"เดี๋ยวนี้ข่าวกรองทางทหารมีความสำคัญมาก ประเทศเพื่อนบ้านอยากรู้ศักยภาพในการทหารโดยเฉพาะด้านกำลังรบ อาวุธยุทโธปกรณ์กองทัพไทยอยู่ในสายตาของเพื่อนเราทุกประเทศ" พลโทเผด็จให้ข้อคิด 

"ทุกวันนี้รัฐบาลสนใจความมั่นคงของชาติน้อยกว่าเสถียรภาพและความมั่นคงของรัฐบาล พลเอกชาติชายเพิ่งคุยกับผมเมื่อสองวันก่อนว่าพรรคร่วมรัฐบาลต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรีโดยผลักดันคนในพรรคที่ไม่มีความรู้ความสามารถมีแต่เงินมาบริจาคให้พรรค ท่านนายกฯ ก็ปฏิเสธไม่ได้" บัญชา สนธิกลินท์พร้อมกับส่ายหน้าเบื่อหน่าย 

"ท่านจะให้พวกผมจัดการไหมครับ ไม่ยากเรามีแฟ้มประวัติอยู่ในมือเกือบทุกคน" เอกรินทร์ ขอคำรับรองจากนายบัญชา 

"เหมือนที่คุณให้สหภาพแรงงานโรงงานทอผ้าประท้วงหยุดงานของโรงงานรัฐมนตรีพลตรีประมาณจนท่านต้องลาออกไปจัดการธุรกิจของท่านใช่ไหม" นายบัญชาหัวเราะชอบใจ 

ตุลย์เรียนให้ท่านอื่นๆ ทราบว่ายังมีอำนาจอื่นๆ โดยเฉพาะสื่อมวลชนสามารถเคลื่อนไหวทำให้เปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือเปิดโปงการคอรัปชั่นของรัฐบาลหรือบุคคลที่อยู่คณะรัฐมนตรีได้ 

"ในอดีตมีรัฐมนตรีบางคนต้องโทษติดคุกให้เห็นเป็นตัวอย่างหลายคนครับ" ตุลย์อธิบาย 

งานเลี้ยงถึงเวลาเลิกรา สิทธิเดชกล่าวขอบคุณโดยเปิดแชมเปญส่งท้ายบอกว่าเป็นความสำเร็จในการทำงานข่าวกรองของไทย และหวังว่าจะเห็นความสำเร็จอีกหลายครั้งในอนาคต 

                                   ...........................................  

 

ปีเตอร์ ชุง บินมาไทยหาซื้อฮาร์ดดิสก์จำนวนมากที่ผลิตจากโรงงานได้มาตรฐานในไทย นอกจากนี้อุปกรณ์หลายชิ้นที่ใช้ประกอบคอมพิวเตอร์ผลิตในประเทศไทยเป็นประเทศ ที่มีสินค้าประเภทชิ้นส่วนเหล่านี้เพื่อการส่งออกรายใหญ่ผลิตในไทย 

ปีเตอร์ ชุงบอกตุลย์ว่าเขาเพิ่งกลับจากโอ๊คแลนด์ นิวซีแลนด์พบก้อยรินนาและคิมเบอร์ลี่ที่อัลบานี่ รินนารับแม่จากเมืองไทยมาอยู่ด้วยหลังทดลองอยู่ 3 เดือนกับครูมาลี 

ปีเตอร์ ชุงบอกคิมว่าโอ๊คแลนด์เป็นเมืองใหญ่ประชากรมาก มีโรงเรียนและธุรกิจแยะ เขาดำเนินการจัดตั้งโรงงานประกอบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กใช้แรงงานไม่เกิน 12 คน สำนักงานมีพนักงานขาย 4 คน เป็นคนทำบัญชีและเลขานุการพร้อมกันไป 1 คน เห็นว่าก้อยทำงานนี้ได้ ให้ก้อยลาออกจากงานที่ทำอยู่ที่ได้เงินเดือนน้อยมาทำงานกับเขาให้เงินเดือนมากพออยู่ได้ไม่ลำบาก 

คิมเบอร์ลี่เห็นดีด้วย ออฟฟิศอยู่ในเมืองเขาแนะนำให้ก้อยมีรถยนต์สักคัน เขาช่วยออกเงินดาวน์ให้และก้อยผ่อนเป็นเดือนจะไม่เป็นภาระมาก บริษัทมีที่จอดรถให้ 

ลูกสาวก้อยโตแล้ว แม่เลี้ยงหลาน จัดอาหารกลางวันง่ายๆให้หลานไปรับประทานที่โรงเรียนใกล้บ้านอยู่ไม่ไกล 

คิมฝากความคิดถึงมายังตุลย์ เธอได้วันหยุดยาวจากบริษัท มีแผนชวนตุลย์ขับรถเที่ยวลงใต้หรือขึ้นเหนือ ให้ตุลย์เลือกระหว่างเชียงใหม่หรือกระบี่ 

พีทบอกตุลย์และศิริเดชเพื่อนเก่าสมัยเรียนที่ดวงฤดีว่าพ่อเขาเสียชีวิตที่เมลเบิร์นเมื่อปีที่แล้ว แม่อยู่คนเดียวคิดถึงเมืองไทย ขอกลับมาอยู่กับญาติที่ชัยนาท ธุรกิจที่เมลเบิร์นนั้นพอทรงตัวเท่านั้น สู้สาขาต่างประเทศหลายแห่งทำกำไรดีมาก ธุรกิจเขาต่อยอดทำอุตสาหกรรมขนาดเบาและเล็กประสบความสำเร็จกว่าบริษัทคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ ยังคิดว่าถ้าตุลย์เลิกสอนหนังสืออยากให้เปิดบริษัททำงานด้านสื่อรับทำประชาสัมพันธ์และโฆษณา เขาจะมาร่วมลงทุนด้วยแล้วขยายงานทั่วเอเซีย 

เรื่องสำคัญที่พีทบินมาบอกเพื่อนๆ เขาพบเนื้อคู่เป็นคนจีนลูกครึ่งออสเตรเลียชื่อแพมเมล่า             ฮิกกินสัน หน้าตาไปทางฝรั่งมากกว่าจีนแม่เป็นจีนพ่อเป็นฝรั่งออสเตรเลีย 

เธอทำงานการตลาดบริษัทขายผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเด็ก อยู่ร้านใกล้กันจึงมักเดินไปรับประทานอาหารร้านเดียวกัน พูดกันบ่อยๆ เป็นเพื่อนกันและแต่ละคนไปมาหาสู่กันที่บ้าน เป็นที่พอใจกันทั้งสองครอบครัว 

พีทกับแพมเมล่ากำหนดแต่งงาน 6 เดือนข้างหน้าและจะมาเมืองไทยเพื่อฮันนีมูน 3 อาทิตย์ให้เพื่อนๆ ช่วยกันต้อนรับ ห้ามพูดเรื่องความหลัง 

นี่เป็นข่าวดี เพื่อนเสนอ บ้านรีสอร์ทนอร์ทฮิลล์ที่เชียงราย เอ็กซ์คลูซีฟให้ประทับใจคู่บ่าวสาว 

                                   ..................................... 

คิมเดินทางถึงกรุงเทพฯ ในเดือนเมษายน 2532 ตุลย์อยู่กับครอบครัวพิมราในบ้านพักส่วนตัวที่อำเภอหัวหินเกือบหนึ่งสัปดาห์แล้ว กำลังเดินทางกลับวันพรุ่งนี้ 

ศิริเดชเป็นไปรับคิมที่สนามบินนานาชาติดอนเมือง เธอถามว่าตุลย์อยู่ไหนทำไมไม่มารับเธอ

"ตุลย์มีงานต่างจังหวัด" ศิริเดชพูดโพล่งออกไป

"เธอโกหกไม่เก่ง ฉันรู้ตุลย์อยู่ไหนสักแห่ง ไม่ได้ทำงาน" คิมยิ้มพูดจับโกหก

"ผมบอกไม่ได้ เดี๋ยวคุณโกรธ"

"ไม่บอกฉันก็รู้แล้ว...อยู่กับคนชื่อพิมใช่ไหม?" คิมแค่เดาเล่น

"คิมรู้" ศิริเดชตกใจ   "ผู้หญิงมีซิกเซนส์กับเรื่องนี้เสมอ...ฉันไม่ว่าอะไรหรอกนะ"

คิมเดินไปเข็นรถใส่กระเป๋าเดินทาง ศิริเดชช่วยคิมถือสัมภาระหลายชิ้นที่คิมนำติดตัวมาด้วย

"ตุลย์สั่งซื้อมาทั้งนั้น ขว้างทิ้งข้างถนนให้หมดก็ได้" คิมทำหน้าขึงขัง

"ดีครับดี เอาให้เข็ด ไอ้คนสองใจ" ศิริเดชยุส่ง

"เธอเป็นเพื่อนเขานะ เขาได้ยินโกรธแย่" คิมหัวเราะ

"หมั่นไส้มันมานานแล้ว"

"ตกลงเป็นเพื่อนฉันหรือเป็นเพื่อนพิมกันแน่" คิมย้อนถาม

"พิมเขาเป็นเพื่อนร่วมงานครับ" ศิริเดชพูดตรงๆ

"แล้วฉันละ"

"คุณก็แฟนเพื่อนไง" ศิริเดชหัวเราะลั่น

"ฉลาดตอบนะคุณ" คิมตอบติดตลก

เพื่อความปลอดภัยเมื่อถึงรถ ศิริเดชรีบจัดเก็บของทุกชิ้นไว้ในรถ หลังจากขนกระเป๋าเสื้อผ้าคิมไว้ท้ายรถแล้ว

"คุณลางานมาได้กี่วันครับ"

"ฉันไม่ต้องลาหรอกค่ะ เป็นสิทธิฉันได้หยุด 3 อาทิตย์ทุกปี ฉันไม่กลับบ้าน แต่มาเที่ยวกับตุลย์ที่นี่"

“คิมพักที่ไหน เดี๋ยวเราแวะอิมพีเรียลก่อนจะได้พบเพื่อนๆ หลังจากนั้นตามสบายเลยคิม”

ศิริเดชขับรถนิ่งเงียบมาตลอดทางจนถึงโรงแรมอิมพีเรียล เขาเกรงว่า หากคิมพักที่โรงแรมนี้ โอกาสที่เธอประจันหน้าพิมรามีมากเนื่องจากพิมราใช้สถานที่นี้ เพื่อการประชุมสรุปสถานการณ์ทุกสัปดาห์

แน่นอนไม่เป็นผลดีกับตุลย์ที่ต้องให้ สองสาวเผชิญหน้ากัน

                                   .......................................

..............างเกศรี วัชรวรรณ แม่ของพิมรารักลูกสาวมาก พิมราไปเรียนอเมริกาเกศรีตามไปดูแลอย่างใกล้ชิด ทิ้งให้สามีพลตำรวจตรีอัครเดชอยู่โยงเฝ้าบ้านคนเดียว 

เกศรีมีญาติร่ำรวย พ่อเธอเป็นหุ้นส่วนและร่วมก่อตั้งบริษัทมาร์ตินแอนด์เคนซึ่งเป็นบริษัทรับผลิตอาหารกระป๋องขายทั่วยุโรปและอเมริกาหลายยี่ห้อและทำการตลาดด้วย หนึ่งในลูกค้าคือจาวิสแอนด์ดีน ประเทศไทย

พ่อของเกศรี นายเคน ศรีจำปา เศรษฐีผู้มั่งคั่งจังหวัดระยอง มีกิจการอาหารทะเลและเรือประมงจำนวนมาก เขารักการศึกษา ส่งลูกสาวลูกชายเรียนสูงๆ ตัวเขาติดต่อธุรกิจค้าขายต่างประเทศ เริ่มทำอาหารทะเลบรรจุกระป๋องส่งออกต่างประเทศรายแรกๆของไทย เปิดตลาดเอเชีย ต่อมาเมื่อพบกับมาร์ติน จอห์นสันนักการตลาดชาวอังกฤษ เคนและมาร์ตินมีความคิดร่วมกันสร้างบริษัทอาหารทะเลบรรจุกระป๋องและอาหารประเภทอื่นๆ ตามที่ตลาดต้องการ มาร์ตินแอนด์เคน ขยายตัว ช่วงปี 2518-2520 อย่างรวดเร็ว มีสินค้าที่ทำตลาดอยู่ในมือกว่า 2,000 ยี่ห้อในปี 2532 

กล่าวได้ว่ามาร์ตินแอนด์เคนกับจาวิสแอนด์ดีนเป็นคู่แข่งกัน แต่คิดอีกนัยหนึ่งสองบริษัทก็ร่วมกันทำการค้าหลายตัว มาร์ตินแอนด์เคนใช้โรงงานในเครือผลิตสินค้าให้จาวิสแอนด์ดีนเป็นสินค้าส่งออกไม่นำมาขายในไทยแต่ส่งออกไปขายต่างประเทศภายใต้ยี่ห้ออื่น

เกศรีมีหุ้นจำนวนหนึ่งในมาร์ดินแอนด์เคนพ่อให้หุ้นในวันปีใหม่รวมทั้งในวันเกิดเธอทุกปีและหลังจากนั้นเมื่อถึงวันครบรอบแต่งงานของเธอหลายปีก่อน อีกครั้งหนึ่งมอบให้เมื่อพิมราเกิด เคนมอบหุ้นให้หลานทุกวันเกิดอีกด้วยมิได้ขาด

เกศรีไม่เคยสนใจหรือรู้มูลค่าหุ้นของเธอและของลูกพิมมีค่าหรือใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

จนกระทั่งเมื่อลูกสาวเธอโตเริ่มมีความรัก

รักลูกมากเท่าไหร่ ก็ต้องทำทุกทาง ให้ลูกสมหวัง  ลูกรักใคร เธอก็รักคนนั้นด้วย

เมื่อเกศรีพบตุลย์และครอบครัววัชรวรรณกับครอบครัวฤทธิดำรงสนิทกันมากเท่าไร ความฝันที่จะเห็นลูกทั้งสองครอบครัว ลงเอยด้วยการแต่งงานดูสวยหรูงดงามไม่อาจเป็นอื่นไปได้

กระทั่งวันที่พิมราร้องไห้บอกเธอ

"แม่ขา...ตุลย์มีผู้หญิงอีกคน"

"มันเป็นใคร?"

.........นี่เป็นจุดเริ่มต้นของมหากาพย์ ทั้งต่อสู้แย่งชิงคู่รักได้เสีย กลับกลายเป็นการต่อสู้อย่างเอาเป็นเอาตายทางธุรกิจระหว่างสองยักษ์ใหญ่ทางการตลาดในประเทศไทย 

                                               ................................................. 

คุณลาวัลย์รับฟังลูกอธิบายเรื่องราวหลังจากกลับมาจากหัวหินด้วยความไม่สบายใจ โดยเฉพาะการที่ตุลย์เรียกร้องให้จัดห้องใช้เฉพาะ สำหรับญาติผู้ใหญ่ให้เพื่อนผู้หญิงมาพัก แม้จะเป็นคิมเบอร์ลี่ ที่เธอเห็นมาตั้งแต่เล็ก รักเหมือนลูก อีกทั้งมาร์กาเร็ตกับสามีพ่อของคิมไม่ใช่ใครอื่น แต่ได้ชื่อว่าเคยคนสนิทชิดเชื้อกันมาก่อน 

ลูกชายตัวดีของเธอ คบผู้หญิงถึง 2 คนในคราวเดียวกัน เธอดูไม่ออก ลูกเลือกใครกัน พิมรานั้นเธอรู้จักกันทั้งครอบครัว ผู้หญิงคนนี้มีทั้งชาติตระกูล ความรู้ดี หน้าตาสะสวย กิริยามารยาทอ่อนน้อมเข้าได้ดีกับผู้ใหญ่ สำคัญที่สุดเป็นคนไทย 

อีกคนหนึ่งเป็นหญิงงามแม้ไม่ใช่คนไทยก็อยู่อย่างไทยหลายปี ครอบครัวแอนเดอร์สันคือโรเบิร์ตและภรรยามาร์การ์เรตเลี้ยงลูกสาวคิมเบอร์ลี่ได้ดีเยี่ยม มีชีวิต อยู่กันสมถะอบอุ่นในประเทศไทยนับสิบปี 

ทั้งยังส่งส.ค.ส.และการ์ดในโอกาสตามเทศกาลต่างๆ ถึงครอบครัวเธอสม่ำเสมอ ครอบครัว      แอนเดอร์สันดูแลตุลย์ขณะที่เขาไปเรียนอยู่นิวซีแลนด์และรักตุลย์เป็นลูกคนหนึ่ง 

เธอจะทำอย่างไรดี คนหนึ่งเป็นกุลสตรีไทยคุณสมบัติครบถ้ามาเป็นสะใภ้ในครอบครัวฤทธิดำรงค์ก็ได้อย่างใจ 

อีกคนเหมือนลูกสาวในครอบครัวไปแล้ว เป็นผู้หญิงรู้ใจตุลย์มากที่สุด ในโลกนี้ ตุลย์อาจขาดผู้หญิงคนอื่นได้ แต่ไม่อาจขาดใครยกเว้นแม่กับผู้หญิงชื่อคิมเบอร์ลี่คนนี้เท่านั้น 

ตุลย์ต้องตอบให้ได้ว่าจะเอาพิมราไว้ไหนในหัวใจเขา 

คุณลาวัลย์หยุดความคิดไว้แค่นั้น เมื่อลูกชายตัวดี เรียกความสนใจอย่างร้อนรนในโทรศัพท์ 

....."แม่...ทำไมเงียบไปครับ ฟังผมพูดอยู่รึเปล่าครับ แม่จัดห้องให้คิมด้วยนะครับน่ะแม่" ตุลย์พูดด้วยความหงุดหงิด 

"ได้จ้ะ...แม่ให้เขาจัดห้องปูผ้าปูที่นอนให้ใหม่หมดทุกอย่างว่าแต่จะมากันเมื่อไหร่ล่ะ...อ้าว วางหูไปเสียแล้ว" 

ตุลย์วางหูโทรศัพท์จากเครื่องของโรงแรม หันรีหันขวางไปดูว่ารถทางบ้านพิมรามารับเธอหรือยัง เกรงว่าพบกับคิมซึ่งยังอาบน้ำแต่งตัวอยู่ข้างบน 

"มึงเอ๋ย รถไฟชนกันแน่ โครมเดียวจอดแน่ไอ้ตุลย์" ศิริเดชแหย่ 

"เฮ้ย...อย่าพูดดังซีเว้ย เดี๋ยวไม่คนใดคนนึงได้ยินหรอก ยิ่งกลัวๆ อยู่" ตุลย์พูด เอาดีสู้เสือ 

"คุณลาวัลย์เธอว่าอย่างไรล่ะ" สหชาติเยาะ 

"จะว่าอะไรได้ ลูกรักซะอย่าง" เอกรินทร์เย้ย 

"ทีใครทีมันก็แล้วกัน คิดบัญชีทีหลัง" ตุลย์กัดฟันพูด 

รถจากบ้านพิมรามารับหน้าโรงแรม ตุลย์รีบเดินเคียงคู่ไปส่งเห็นหลังไวๆ คิมเบอร์ลี่เดินลงมามองไปทันเห็นพิมราทางล็อบบี้เต็มตา 

"ยัยคนที่เดินออกไปกับตุลย์ใช่ไหมชื่อพิมรา ทำไมก้นใหญ่จัง" คิมหัวเราะ 

"ไปว่าเค้า ดูก้นคุณเถอะใหญ่ไม่แพ้เขาหรอก" ศิริเดชหัวเราะก๊าก 

ตุลย์เดินกลับมาพบคิมหน้าตา เอาเรื่อง ก็เดินตัวลีบ 

"มานานแล้วหรือคิม" เขาทักเอาใจ 

"นานพอเห็นเธอ เดินควงคนก้นใหญ่ ไปส่งก็แล้วกัน" คิมประชด 

"เขาก็เพื่อนร่วมงานน่า เรื่องอะไรไปว่าก้นคนอื่น" ตุลย์ออกตัว 

"ไปเที่ยวด้วยกันตลอดวีคเอนด์เลยนะ นายตุลย์" แววหึงชักออกลาย 

"โอ๊ย...ไปทั้งครอบครัว ใช่ว่าสองต่อสอง เธอคิดไปได้" 

คิมไม่อยากต่อความยาวสาวความยืด เธอบอกแผนขับรถยนต์ลงใต้พักระหว่างทางไปกระบี่ 

ตุลย์ท้วงว่าเส้นทางลงใต้ยังพวกผู้ก่อการร้ายต่อสู้รัฐบาลไม่ปลอดภัย ควรไปเหนือ ใช้เส้นทางหลักไม่น่ามีปัญหา 

ตุลย์และคิม คงต้องผิดหวังเพราะข่าวร้ายกลบข่าวดีเสียก่อน 

                .................................................................... 

 

.....แอนดรูว์ บาร์ทลี่ย์ และแจน(เจนิเฟอร์)ลูกสาวของเขา พาปาณิสาและสมิตาลูกสาวสิทธิเดช บุณฑริกาขึ้นเครื่องบินภายในประเทศจากเมืองอะเบอร์ดีนในสกอตแลนด์มาลงที่สนามบินฮีทโธรว์ในลอนดอนเพื่อต่อเครื่องบินการบินไทยทีจี917 ออกจากลอนดอนบินตรงเวลา 21.35น. ลงจอดที่สนามบินดอนเมืองในเวลา 16.00น. 

แอนดรูว์รอส่งจนเด็กสองคน เดินเข้าประตูทางออกเรียบร้อยจนเครื่องบินการบินไทยพ้นรันเวย์ เขากับลูกสาวจึงหารถแท็กซี่เข้าลอนดอนเพื่อค้างคืนก่อนบินกลับบ้านวันรุ่งขึ้น

ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง นายสายหยุดคนขับรถ และดนัยเลขาฯนายสิทธิเดชคอยเด็กสองคนอยู่ครึ่งชั่วโมงเห็นเด็กสองคนยังไม่ออกมา ดนัยจึงโทรศัพท์ติดต่อไปหาสิทธิเดชซึ่งติดประชุมถามยืนยันเที่ยวบินและเวลาถึงดอนเมืองอีกครั้ง แต่ไม่มีสิ่งใดผิดพลาด

"ทีจี917 ถึง 4 โมงเย็น อาจจะดีเลย์ได้ คุณตรวจสอบการบินไทยดูแล้วกัน" สิทธิเดชสั่งให้ลูกน้องติดต่อพนักงานการบินไทยที่สนามบิน

"เครื่องบินตรงเวลาค่ะ" พนักงานการบินไทยตอบ

"มีชื่อผู้โดยสารปาณิสากับสมิตาไหมครับ" ดนัยถาม

หลังจากตรวจดูรายชื่อพนักงานการบินไทยยืนยันรายชื่อทั้งสองคนและถามไปยังตรวจคนเข้าเมืองก็ยืนยันเช่นกัน

ดนัยโทรศัพท์ถึงสิทธิเดชทันที เขาบอกจะมาสนามบินไม่เกิน 20 นาที

ระหว่างนั้นดนัยถามพนักงานภาคพื้นดินการบินไทยและผู้โดยสารซึ่งยังอยู่ประตูทางออกได้ความว่ามีคนรับเด็กสองคนไปแล้ว

แท็กซี่จอดรอรับผู้โดยสารบอกว่า รถทางบ้านเด็กออกจากสนามบิน พร้อมคนรถ ที่บ้านส่งมารับ

สิทธิเดชมาถึงสนามบินพร้อมนายตำรวจเร็วกว่า 20 นาที

"ผมอยากรู้ว่าใครมารับลูกสาวผมออกจากสนามบิน"

หลังจากซักถามคนขับบรถแท็กซี่ถึงลักษณะท่าทางคนมารับเด็ก ได้ความว่า คนมารับเด็กมีสองคน คนหนึ่งนั่งรออยู่ในรถ เข้าใจว่าเป็นรถยุโรป ตามลักษณะรถยนต์ที่อธิบาย สิทธิเดชว่าเป็นยี่ห้อวอลโว่สีเทาบรอนซ์ แท็กซี่ไม่ทันสังเกตเลขทะเบียน

คนที่นำเด็กสองคนขึ้นรถ ร่างกายสูงใหญ่ไม่ใช่คนไทย เป็นคนต่างชาติ ไม่ใช่ฝรั่งหรือคนเอเซีย สิทธิเดชถามว่าเป็นแขกหรือเปล่า แท็กซี่ว่าไม่ใช่เพราะขาวกว่าหน้าตาดีกว่านั้น

คนขับรถอธิบายเพิ่มเติม สิทธิเดชมั่นใจว่า เป็นคนตะวันออกกลาง พวกอาหรับหรือตุรกีไม่ก็ใกล้เคียงกับกรีกหรือพวกเมดิเตอเรเนียนหรือแม้แต่ยุโรปใต้

ปัญหาที่สิทธิเดชคิดไม่ตก คือทำไมจึงมีคนชาติอื่นมาลักพาตัวลูกสาวเขา หรือเป็นพวกเรียกค่าไถ่

"คุณมีปัญหาการเมืองกับใครไหม" นายตำรวจที่มากับสิทธิเดชถาม

"ไม่มี...แต่อาจมี เดี๋ยวนะ" สิทธิเดชเล่าเรื่อง ที่เขาช่วยเหลือพวกอิสราเอลพาชาวยิวพ้นจากค่ายกักกันในไซบีเรียเป็นอิสระ เมื่อไม่นานมานี้ให้ฟัง                                      

"เป็นไปได้ไหม มันเกี่ยวพันกัน เป็นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ" นายตำรวจกำลังคิดถึงทฤษฎีการล้างแค้น

"ไม่นะ ถ้ามีใครจะโดนทำร้าย ก็ต้องโดนผมไม่ใช่โดนที่ลูก"

"มันใช้เด็กต่อรองกับคุณก็ได้" นายตำรวจคาดหมายอย่างนั้น

"มันมีประเด็นอะไรมาต่อรองล่ะ" สิทธิเดชพึมพำกับตัวเอง

สิ่งแรกสิทธิเดชทำคือระดมสมองกับเพื่อนด้านความมั่นคงกับสามหน่วยงาน และทีมงานโคซิโอ ณ. ห้องประชุมเล็กในที่ทำงานสำนักข่าวกรองฯ

"ผมขอบคุณทุกคนที่มากันครบ ผมขอเข้าประเด็นนะครับ

ประการแรกผมไม่ปฏิเสธว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องในครอบครัวผม

ประการที่สองผมพิจารณาแล้วการลักพาตัวลูกผมสองคนน่าจะเกี่ยวโยงกับการที่ผมร่วมมือกับรัฐบาลอิสราเอลช่วยเหลือเชลยชาวยิวให้ออกจากค่ายกักกันในไซบีเรีย คนลักพาตัวอาจต่อรองกับผมหรืออิสราเอลหรือทั้งสองคือผมกับประเทศอิสราเอล"

"ท่านคิดว่าอาจต้องใช้ภารกิจนำตัวประกันออกจากผู้ลักพาตัวให้ได้ใช่ไหมครับ" สหชาติคิดว่าสิทธิเดชกำลังคิดเช่นเดียวกับเขา

"ครับ...ถ้าเรื่องนี้เป็นไปตามประการที่สอง"

"ก็ไม่พ้นเป็นปฏิบัติการร่วมไทย-อิสราเอล" พลโทเผด็จ ผู้ดูแลศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติที่มีหน่วยปฏิบัติการนอกประเทศเสนอความคิด

"ผมจะปรึกษากับรัฐมนตรีกลาโหมพณฯ โมเช แอเร็นส์อีกที

เย็นวันนั้นสหชาติกลับมาที่โรงแรมพบตุลย์กับคิมนั่งหน้าเศร้าอยู่สองคน

"จะเอาข่าวดีหรือข่าวร้ายก่อน"

"เอาข่าวร้ายก่อนค่ะ" คิมรีบตอบ

"เอาละ...คุณอาจยังไม่ทราบว่าปาณิสาและสมิตา ลูกสาวผอ.สิทธิเดชถูกคนร้าย ซึ่งตอนนี้ยังไม่ทราบว่าเป็นใครหรือสัญชาติไหนลักพาตัวไปจากสนามบินดอนเมืองเมื่อเย็นวันนี้ คาดว่ามีภารกิจร่วมไทย-อิสราเอล ฝ่ายไทยคงไม่พ้นทีมโคซิโอ"

"ข่าวดีล่ะ" ตุลย์ถาม

"ข่าวดีคือนายไปฮันนีมูน เอ้ย ไม่ใช่ ไปเที่ยวกันได้ เพราะนายไม่ใช่สายปฏิบัติการแต่เป็นสายสื่อมวลชน"

"มอสสาด-โคซีโอเรามีนักแม่นปืนอย่างเอกรินทร์ช่วยได้มาก" สหชาติเชื่อฝ่ายไทยคงไม่ใช้ทหารไปร่วมกับมอสสาดแน่

หากจะร่วมกับมอสสาดจริง โคซิโอต้องกลับไปฟิตร่างกายให้แข็งแกร่งกว่านี้ และต้องไปเก็บตัวที่เชียงราย

                                   ..........................................

"ที่รัก...เราไปล่วงหน้านะ คิม เชียงรายสวยมาก รีสอร์ทเป็นของเราเอง ผมขับรถเองเราแวะนครสวรรค์ เชียงใหม่ หรือลำปางก่อนก็ได้" ตุลย์เสนอความคิดนี้

"คิมว่าถ้าให้แน่วางแผนจองที่พักไว้เนิ่นๆ รวมทั้งดูแผนที่หาร้านอาหารดีๆระหว่างทางด้วย"

                                   ...............................................

ตุลย์และคิมพักอยู่ที่บ้านใกล้มหาวิทยาลัยเกษตรฯ เพียงแค่หนึ่งคืนวันต่อมาตุลย์ก็พาคิมออกเดินทางขึ้นเหนือมุ่งสู่เชียงรายด้วยรถยนต์ มีแผนพักค้างคืนที่นครสวรรค์ ลำปาง เชียงใหม่ และเชียงรายถึงจุดหมายที่รีสอร์ทนอร์ทฮิลล์ 

.....สิทธิเดชประสานไปยังรัฐมนตรีกลาโหมโมเช แอเร็นส์อธิบายเรื่องราวให้ฟัง แอเร็นส์ตอบทันที

"ผมเสียใจสิทธิเดช เมื่อเช้าทูตเราในกรุงเทพฯ รายงานแล้วเรื่องลูกสาวของท่าน เราตรวจสอบทันทีไม่ใช่เรื่องของครอบครัวท่านอย่างเดียว แต่ที่ผู้ก่อการร้าย ผมย้ำนะครับพวกผู้ก่อการร้ายนี้ต้องการโต้ตอบอิสราเอลกับไทยที่ช่วยกรณีโอเปอร์เรชั่นโอบลาส-ไซบีเรีย ผมจะจัดคนไปประสานเร็วๆ นี้"

                                     

สิทธิเดชจัดการให้มีการประชุมระหว่างฝ่ายความมั่นคง ซึ่งแน่นอนต้องมีโคซีโอยกเว้นตุลย์ที่ขอลา สิทธิเดชได้เชิญเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยและทูตทหารซึ่งเข้าใจได้ว่าคือสมาชิกคนหนึ่งของมอสสาดเข้าร่วมด้วย 

 

แสดงเพิ่มเติม

รีวิว (0)

เรื่องนี้ยังไม่มีรีวิว