ตอนพิเศษ คนเราควรจะเชื่อหมอดูในนิยายอย่างนี้หรือไม่?
สำหรับผู้เขียนเป็นคำถามเดียวกับที่ถามว่า
“หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนไป คุณจะเปลี่ยนจุดยืนของคุณตามข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนไปไหม?” แบบเดียวกับที่บิดาผู้ก่อตั้งเม่ยกั๋วคนหนึ่งเคยกล่าวเอาไว้
ช่วงนี้รู้สึกว่า แนวพิสูจน์ความรู้วิทยาการต่างๆ มองวิทยาศาสตร์เป็นแนวตัวโกงอย่างไรชอบกล
อย่างว่าล่ะ คนเขียนที่ออกแนวเชียร์โอโรจิมารุจากนารุโตะ อาจจะดูแปลกๆบ้าง แต่
วิทยาศาสตร์ไม่ได้ต่อต้านไสยศาสตร์หรือศาสตร์ต่างๆหรือเป็นศัตรูกันจริงๆแต่ประการใด
หากผมบอกว่าพระอาจารย์ท่านหนึ่ง แปลศิลาจารึกมรกตอายุยาวนานพันปีในการซัดตะกั่วให้กลายเป็นทอง ต้นกำเนิดของตำราเล่นแร่แปรธาตุที่พวกหมอผีต่างๆใช้กัน จะรู้สึกอย่างไรหากผมบอกว่าพระอาจารย์ที่ว่าคือ ไอแซค นิวตัน
ต้นกำเนิดของวิทยาศาสตร์คือการต้องการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวเราหรือ ปรัชญาธรรมชาตินั่นเอง
เงื่อนไขของนักวิทยาศาสตร์ หากบอกอย่างเรียบง่ายคือ “ขอการวัดที่แน่นอนและไม่ว่าใครหากทำด้วยเงื่อนไขด้วยเดียวกันได้รับผลลัพธ์แบบเดียวกัน”
คือมีการควบคุมตัวแปรต่างๆได้มาตรฐานแน่นอน ได้ผลลัพธ์แบบเดียวกันนั่นเอง
มันจะกลายเป็นนว่าข่มอาจารย์อวดวิชากันไปหากเอาไสยศาสตร์มาคุยกัน
เช่น หากมีคนมาข่มเรื่องเล่นแร่แปรธาตุ
นักวิทยาศาสตร์ก็อาจจะบอกว่า อาจารย์ของข้าคือไอแซค นิวตัน อาจารย์ของเจ้าแปลตำราจากคัมภีร์มรกตอายุพันปีได้แบบของข้าหรือเปล่า?
หรือตำราการดูนรลักษณ์ ดูหน้าตาลักษณะใบหน้าของคน ของข้าแปลจากอริสโตเติล ตำราอายุกว่าพันปีตรงๆเลยของเจ้าเป็นแค่ของก็อปปี้ไม่ครบถ้วน
มันจะกลายเป็นอวดบารมีอาจารย์ไปและไม่จบไม่สิ้น
การหาข้อยุติในระหว่างนักวิทยาศาสตร์ก็คือการทำการทดลองพิสูจน์สมมติฐานและป้องกันผลการวิจัยของตนเองจากนักวิทยาศาสตร์และผู้รู้คนอื่นได้นั่นเอง
เรื่องที่ทำให้ผมมาคิดคือ
“ทำไมเพราหมอดูทายทัก อำมาตย์ใหญ่ถึงรังแกกลั่นแกล้งลูกสาวของตนเอง ทอดทิ้งให้อยู่ลำบากยิ่งกว่าคนใช้?”
เป็นคำถามที่น่าคิดเช่นกัน
ที่ต้องผสมกับคำถามที่ว่า
“หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนไป เราจะเปลี่ยนจุดยืนของเราหรือเปล่า?”
ในโลกที่กระสือยายสายมีอยู่จริง ชาวบ้านที่เราด่าว่าโง่เขลาพยายามสอบถามว่าเมื่อคืนแต่ละคนนั้นอยู่กับใคร นั่นคือการหาห่วงโซ่ของพยานหลักฐาน chain of evidence
ว่าชาวบ้านแต่ละคนเป็นพยาน alibi แก้ต่างให้กันและกันได้ว่าตนเองไม่ใช่กระสือ
และพยายามที่จะตรวจสอบพิสูจน์โดยการเผาผ้าอ้อมหรือมุ้งที่ยายสายเอามาเช็ดปาก forensic evidence ว่าหากใครแสบร้อนคนนั้นนั่นล่ะเป็นกระสือ
แต่กระทั่งรวบรวมหลักฐานทั้งหมดมาว่ายายสายนี่กระสือชัวร์ๆ
แทนที่จะเผาตามที่มนุษย์ที่มีเหตุมีผลควรจะทำ กลับแค่ไล่ไปนอกหมู่บ้านให้ยายสายมาทำร้ายชาวบ้านต่อไป what the?
ผู้เขียนคิดว่า หากอยู่ในเรื่องตนเองคงเป็นตัวละครประมาณไอ้แก่นที่ถือคบเพลิงนำหน้า เรียกร้องให้ผู้ใหญ่บ้านเผายายสายเร็วๆก่อนจะมืด แต่จะโดนชาวบ้านคนอื่นห้ามไว้นั่นเอง
กลับมาที่เดิมว่า “ทำไมถึงฟังคำพูดของหมอดู”
หากหมอดูพิสูจน์ว่าเป็นจริง โชคชะตาเป็นจริง
ท่านผู้อ่านจะเปลี่ยนจุดยืนของตนเองหรือเปล่าครับ? เป็นคำถามเดียวกัน
สถานการณ์อาจจะต้องกลับมาที่แนวความคิดเซี่ยงเส้าหลงในเจาะเวลาหาจิ๋นซีว่า
“ข้าควรจะเตือนเซี่ยงหวี่ ลูกของข้าดีไหมว่า หากภายภาคหน้าเจอคนที่ชื่อหลิวปัง ให้สะบัดกระบี่สังหารในกระบี่เดียว?”
ในฐานะไอ้แก่นที่ร้องเย้วๆให้ชาวบ้านสังหารยายสายโดยการเผาไฟ
ผู้เขียนเองก็มองว่าการทรมานหรือรังแกเด็กนั้นไม่สมเหตุสมผล เมื่อคิดที่จะเป็นศัตรูกันแล้ว เมื่อพยายามจะแก้ไขโชคชะตา
ไยไม่สะบัดกระบี่สังหารในคราเดียว?
การไม่ฆ่าและไม่เอาตัวไว้ใช้งานแต่กลับปล่อยไปเฉยๆคือความผิดอย่างมหันต์
หากไม่ใช้งานเขาก็ควรจะฆ่าเสีย นี่คือคำแนะนำที่นักปราชญ์แนะนำอ๋องผู้ครองแคว้นเมื่อเจอคนมีความสามารถ
หากโชคชะตาเชื่อถือได้จริง
การละเลยครึ่งๆกลางๆคือการกระทำที่ผลลัพธ์จะออกมาแย่ที่สุด
แต่พอมาในแนวกลับชาติมาเกิดเป็นนางร้าย เหมือนกับพยายามจะเขียนตำหนิหมอดูเสียอย่างนั้น เพราอะไรกัน?
ทั้งที่หมอดูก็ทำนายไปตามตำราความรู้ของตนเอง และคำทำนายก็เป็นอย่างที่หมอดูว่าจริงๆพวกเขาผิดอะไร? (ยกเว้นข้อห้ามเรื่องทำนายให้เด็กที่มีดวงชะตาบดบังคนในครอบครัว)
นี่คือสิ่งที่ผู้เขียนสงสัยอยู่พอสมควรในแนวเข้ามาในเรื่องนิยายของคนเขียน
เพราะตามไทม์ไลน์เดิม หมอดูก็ทายถูกทุกประการนั่นล่ะ
แต่นักเขียนหญิงที่กลับชาติมาเกิดก็พยายามจะทำให้หมอดูอับอายขายหน้าสารพัดต่างๆ
คือผมเจอคำศัพท์หนึ่งที่เรียกว่า internal consistent ความสมเหตุสมผลภายในเรื่อง คือเรื่องราวเรามีคนระเบิดภูเขาเผากระท่อม อะไรได้สารพัด แต่สิ่งที่ควรเคารพเพียงอย่างเดียวคือความสมเหตุสมผลภายในเรื่อง
หากวิชาหมอดูมันเทพอย่างที่บรรยายไว้จริงๆ
มีสาเหตุอะไรที่ต้องไปหาเรื่องหมอดูที่เขาทำนายตามวิชาความรู้ที่เขามี?
คำถามควรจะเปลี่ยนจากคำถามว่า “ทำไมรังเกียจลูกสาวตนเองทั้งที่เพียงแค่หมอดูทำนาย”
กลายเป็น
“ทั้งที่หมอดูทำนายไว้แล้ว ทำไมท่านอำมาตย์ไม่สะบัดดาบสังหารลูกสาวในกระบี่เดียว?” มากกว่า
สังเกตว่าคนยุคใหม่ชอบเล่นมุกลูกสาวดยุก เอาแนวคิดทางการเมืองเข้ามา
แต่ไม่มีใครเอาแนวคิดการเมืองตามความเป็นจริง realpolitik เข้ามาในเรื่องนี้แต่ประการใด
ผมคงเป็นไอ้แก่นหรือฟ่านเจิ้งกุนซือของเซี่ยงหวี่ที่ผลักของขวัญทิ้งไว้แล้วพูดว่า
“พลาดโอกาสอันดีไปแล้ว พวกเราคอยให้หลิวปังมาจับพวกเราเป็นเชลยเถอะ”หรือ”ไม่ยอมเผายายสายคอยให้มืดก่อนอย่างนี้พวกท่านคอยให้ยายสายมากินตับพวกเราเถอะ”
การถามคำถามควรจะถามคำถามที่ตรงประเด็น
แบบทดสอบของการเป็นใหญ่ในแผ่นดินอยู่ตรงหน้า หมอดูทำนายไว้ชัดแล้วๆแต่อำมาตย์หวังกลับติดอยู่ในบ่วงความรักในอดีต ไม่สามารถสะบัดดาบสังหารอี้จิงได้ จึงพลาดโอกาสครองแผ่นดินไปในที่สุด
นี่คือสิ่งที่ผู้เขียนตีความแบบเพี้ยนๆในการมองไทม์ไลน์ดั้งเดิม
ดังนั้นอยากให้ผู้อ่านลองถามคำถามใหม่ว่า “ทำไมพ่อที่เป็นอำมาตย์ถึงไม่สังหารลูกในดาบเดียว ทั้งที่มีหมอดูทำนายไว้แล้วแท้ๆ?”
ซึ่งผู้เขียนชักคิดว่า คงไม่ใช่บทเรียนที่นักเขียนแนวโรมานซ์ต้องการจะสื่อสักเท่าไร
ว่าอย่าเห็นแก่ความรัก ทำใจให้เด็ดขาด สะบัดดาบสังหารลูกสาวของคนที่เราหลงรักเสีย เราก็จะครองแผ่นดินได้แล้วแท้ๆ
ก็เป็นอะไรที่ชวนผู้เขียนงงๆอยู่เหมือนกัน หากพยายามวิเคราะห์แบบที่แนวลูกสาวดยุกชอบเอาการเมืองมาปนกับแนวโอโตเมะ
ว่าคนเขียนแนวนางร้ายกลับชาติต้องการจะให้ความรักเป็นตัวแปรที่ทำให้นางเอกประสบความสำเร็จแต่กลับทำให้คนอื่นล้มเหลว? หากมองจากภาพรวมของทั้งเรื่องแล้ว
หากเอาการเมืองมาปนจริงๆ อำมาตย์หวังก็ไม่มีคุณสมบัติครองแผ่นดินจริงๆนั่นล่ะ หน้าไม่ด้านและใจไม่ดำพอ
ชีวิต ตระกูล ความรัก ทุกอย่างหลุดลอยไปจากมือและศัตรูเล่นทอยเต๋ากับกระดูกของเขาและซากศพแร้งกาจิกกันอยู่ในป่า
เหตุเพียงเพราะแค่เขาไม่อาจหักใจฆ่าลูกสาวของคนที่เขาหลงรักได้นั่นเอง