10 เครื่องมือสุดเซียน ช่วยหนูเขียน E-Books

ไม่รู้ว่าเพื่อนๆชาวธัญวลัยเคยลองสังเกตดูหรือไม่ว่าในปัจจุบัน นักเขียนมีโอกาสที่จะวางขายหนังสือซึ่งพิมพ์ด้วยตัวเองมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการส่งหนังสือของตัวเองไปยังร้านหนังสืออีกทั้งยังสามารถไปถึงกลุ่มผู้อ่านที่ต้องการ โดยที่ขั้นตอนทั้งหมดนี้ ไม่จำเป็นต้องส่งต้นฉบับผ่านสำนักพิมพ์ แต่เป็นเพราะนักเขียนเหล่านั้นเริ่มจากการทำหนังสือที่เรียกว่า “E-Books”ขึ้นมาเพื่อวางขายในอินเตอร์เน็ตก่อน เพราะเทคโนโลยีที่เปิดกว้างและเข้าถึงง่ายมากขึ้นทำให้หนังสืออีบุ๊คดีๆเกิดขึ้นมากมาย เพราะฉะนั้นวันนี้ธัญวลัยจึงได้รวบรวมเครื่องมือ 10 อย่างที่จะทำให้นักเขียนเขียนอีบุ๊คขึ้นมาได้ง่ายขึ้น โดยจะแบ่งเป็น 4หมวดคือเครื่องมือการสร้างอีบุ๊ค, การตลาด, การออกแบบ, การเขียนและการแก้ไข จะมีอะไรบ้างเราไปติดตามกันได้เลย

เครื่องมือการสร้างอีบุ๊ค

1. Calibre (แคลิเบอร์)

แคลิเบอร์เป็นเว็บไซต์ของการสร้างอีบุ๊คแบบครบวงจร เว็บไซต์นี้สามารถแปลงไฟล์งานของเราให้เป็นรูปแบบอื่นๆได้อย่างหลากหลายเพื่อการสร้างรูปแบบที่หลากหลายของหนังสือของเรา

2. Sigil (ซิจิล)

ซิจิลคือเว็บไซต์ที่สำหรับสร้างไฟล์ ePub ที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดี อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการจัดวางเนื้อหาพร้อมรูปภาพอย่างสวยงาม

การตลาด

3. Click to Share

เป็นการเลือกนำเอาประโยคเด็ดที่มีความหมายสำคัญในหนังสือที่เราเขียนมาใช้โปรโมทหนังสือของเรา (หรือจะเป็นการโปรโมทตัวนักเขียนเองก็ได้) โดยการแชร์ลงโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆเมื่อมีคนนำประโยคเด็ดของเราไปแชร์ในโซเชียลเน็ตเวิร์คจะทำให้คนอื่นๆสามารถเห็นชื่อของเราและลิงค์เพจขายหนังสือของเราได้ง่ายขึ้น

4. Poll Daddy (โพลแด๊ดดี้)

โพลแด๊ดดี้เป็นโปรแกรมการทำวิจัยออนไลน์ซึ่งเราสามารถใช้มันเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงและทำให้มีส่วนร่วมในการเขียนและพิมพ์หนังสือเล่มต่อไปได้ ซึ่งเราสามารถรวบรวมคำตอบของแบบสอบถามได้หลายช่องทาง ทั้งทางบล๊อก, ทวิตเตอร์, เฟสบุ๊ค และอีเมลล์ เราสามารถสร้างแบบสอบถามได้มากถึง 100 ชิ้นต่อเดือนเลยทีเดียว

การออกแบบ

5. Canva (แคนวา)

แคนวาคือโปรแกรมที่ใช้ง่ายที่สุดสำหรับคนที่ไม่ใช่กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ ที่จะสามารถสร้างโปสเตอร์ ทำรูปกราฟฟิก หรือแม้กระทั่งสร้างหน้าปกอีบุ๊คของตนเอง ทุกกระบวนการในโปรแกรมนี้ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เป็นโปรแกรมที่ดีตัวนึงเลยล่ะ

การเขียนและการแก้ไข

6. Google Docs (กูเกิ้ล ด๊อคส์)

นี่คือเครื่องมือช่วยในงานเขียนที่โด่งดังมากๆ เพียงแค่เราล็อกอินไปในบัญชีกูเกิ้ล เราก็จะสามารถใช้งานได้เมื่อไหร่ก็ตามที่เราต้องการ ทั้งยังสามารถดาวน์โหลดไฟล์มาได้ในหลายรูปแบบทั้ง txt doc pdf html และเรายังสามารถเชื่อมต่อกูเกิ้ลดอคส์ จากทุกๆเครื่องมือสื่อสารที่เรามีเพียงแค่เข้าไปในเว็บไซต์ของกูเกิ้ลดอคส์ได้อีกด้วย

7. Evernote (เอเวอร์โน้ต)

เราสามารถใช้เอเวอร์โน้ตในการจัดการทุกๆอย่างในหนังสือของเรา ไม่ว่าจะเป็นจดบันทึกไอเดีย เขียนโครงเรื่องคร่าวๆ หรืออีกหลายอย่างงมากมายก่อนจะเริ่มงานเขียนของเรา ที่สำคัญเอเวอร์โน๊ตมีแอพพลิเคชั่นให้เก็บไว้ในมือถือกันด้วยอีกนะ

8. Hanx Writer (แฮ้งซ์ ไรท์เตอร์)

แอพพลิเคชั่นที่ถูกสร้างขึ้นจากนักแสดงชื่อดังอย่าง ทอมแฮงค์ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่างานอดิเรกของเขาคือการสะสมเครื่องพิมพ์ดีด (งงมั้ย? งงสิ) ยังไงก็ตามแอพพลิเคชั่นนี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด แต่ถ้าเราอยากได้ลักษณะพิเศษเพิ่มเติมมาใช้ก็สามารถอัพเกรดตัวแอพพลิเคชั่นนี้ได้ และต้องใช้ไอแพดในการใช้แอพพลิเคชั่นเท่านั้น

9. 750 Words (750 เวิร์ดส์)

นิสัยรักการเขียนคือ 1 ในนิสัยที่นักเขียนควรมีติดตัว ซึ่งเว็บไซต์ 750 เวิร์ดส์จับนิสัยนี้มาตีโจทย์ได้อย่างน่าสนใจ เพราะมันคือเว็บไซต์ที่เราจะต้องเขียนมันทุกวัน วันละ 750 คำ เซ็บไซต์นี้เราสามารถใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายซึ่งเราสามารถบริจาคเงินให้เว็บไซต์ได้ถ้าเราพบว่ามันมีประโยชน์กับงานเขียนของเรา

                10. Paper Rater (เปเปอร์ เรทเตอร์)

                แค่เราพิมพ์เนื้อหาลงไปในเว็บไซต์นี้ มันจะจัดการตรวจความถูกต้องให้ทุกอย่าง ทั้งการสะกดคำผิด การตรวจรูปแบบของการจัดหน้ากระดาษ การตรวจไวยากรณ์ ไปจนถึงการค้นหาคำที่เหมาะสมมากกว่ามาให้เลือกใช้

 

                เครื่องมือเยอะแยะมากมายขนาดนี้ใครที่เป็นนักเขียนอยู่แล้ว คงจะทำงานง่ายขึ้นเยอะ ส่วนคนที่ยังไม่เคยเขียนมาก่อนนี่คือโอกาสดีเลยที่จะได้เริ่มอะไรใหม่ๆ ลองดูไม่เสียหายนะ ธัญวลัยเป็นกำลังใจให้สุดๆไปเลย

17.7kอ่านประกาศ 2015-01-12T02:35:59.2030000+00:00ลงประกาศ

แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นทั้งหมด ()
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น