ราชการลับ21 ชะตากรรม
0
ตอน
329
เข้าชม
6
ถูกใจ
0
ความคิดเห็น
0
เพิ่มลงคลัง

 

 

โคซิโอมีการประชุมร่วมกับผู้บริหารในเดือนธันวาคม 2539  ปีนี้ถือว่าเป็นมหามงคล เป็นปีกาญจนาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย์เดชฯ ทรงครองศิริราชสมบัติยาวนานที่สุด          ในประวัติศาสตร์ชาติไทยถึง 50 ปี นับตั้งแต่ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เป็นต้นมา 

มีงานเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธแห่งสหราชอาณาจักรเสด็จฯ มาเยือนประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 พร้อมด้วยดยุคแห่งเอดินเบอระพระสวามีระหว่างวันที่ 28 ตุลาคมถึง 1 พฤศจิกายน 

ส่วนการประเมินทั่วไป สถานการณ์การเมืองนายบรรหาร ศิลปอาชาในฐานะนายกรัฐมนตรีมีการบริหารที่มีเสถียรภาพ และมีบทบาทมากในการเมืองระหว่างประเทศตั้งแต่ต้นปี 

การประชุมผู้นำชาติเอเซีย-ยุโรปที่เรียกว่า""อาเซม" ระหว่างวันที่ 1-2 มีนาคม 2539 เป็นการเปิดมิติใหม่แห่งความร่วมมือระหว่าง 2 ทวีป เป็นยุคโลกไร้พรมแดนอย่างแท้จริง 

วันที่ 11 เมษายน 2539 เวลา 2 ทุ่ม เอกรินทร์ ยิ่งบุญ สูญเสียเพื่อนคนหนึ่งเมื่อนายแสงชัย สุนทรวัฒน์ผู้อำนวยการอ.ส.ม.ท. ถูกยิงเสียชีวิตโดยมีนางวัชรี สุนทรวัฒน์เป็นคนขับรถเบนซ์จะกลับบ้านภายในหมู่บ้านเมืองทองธานี คนร้ายขับรถมอเตอร์ไซค์เข้ามาประกบยิง 

"มันยิงเหมือนทำกับผม" เอกรินทร์พูดถึงการตายของเพื่อนเขาเชื่อว่าตำรวจจะต้องจับคนร้ายได้ 

ตำรวจจับคนร้ายได้จริงๆ คือนายสุนันท์ วงศ์คำหาญหรือนายดำ คนขับมอเตอร์ไซค์นายกริช      อุ่นตระกูลมือปืนที่ลงมือยิง 

ได้จับกุมนายทวี พุทธจันทร์ อดีตส.ส.ลำปางและนางอุบล บุญชโลธร อดีตส.ส.ยโสธร ข้อหาจ้างวานฆ่าเพราะเหตุเสียผลประโยชน์ในการทำสัญญาคลื่นวิทยุ 

ศาลนนทบุรีลงโทษประหารชีวิตนายทวี เขายื่นอุทรณ์ 

นางอุบล อัยการสูงสุดยกฟ้อง 

แต่ไม่นานนางอุบลโดนยิงโดยนักแม่นปืนครั้งเดียวจอดเพราะขับรถกลับบ้าน 

เอกรินทร์ ยิ่งบุญ นักยิงปืนแม่นที่สุดในประเทศปฏิเสธไม่รู้เห็นแต่เขาบอกสั้นๆ  

"ตายตกไปตามกัน" 

การประเมินสื่อมวลชนประจำปีให้เครดิตรัฐบาลในการจัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษกได้สมพระเกียรติ ขณะที่เห็นว่านายกรัฐมนตรีดูแลลูกพรรคได้ดี 

เมื่อมีเวลาว่างในยามที่ไม่มีภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากคณะผู้บริหารระดับสูง สมาชิกโคซิโอก็หันมาจริงจังกับชีวิตส่วนตัว 

สหชาตินึกถึงครอบครับที่ประเทศอังกฤษ เขาไม่ได้กลับสกอตแลนด์มาหลายปีแล้วและเขายังมีพันธะสัญญากับองค์การสืบราชการลับ MI-6 ที่จะต้องกลับไปทำงานที่นั่น หลังหมดงานกับโคซิโอ 

สหชาติมีคู่รักเป็นสาวชาวอังกฤษชื่อแคทเธอลีน สมัยยังเรียนมหาวิทยาลัย เคธมาเยี่ยมเขาที่ประเทศไทยเพียงครั้งเดียว ขณะที่เขาทำงานกับโคซิโอเมื่อครั้งอยู่โรงแรมอิมพีเรียลและเคธพักอยู่ที่นั่น เขาให้เธอรอและสัญญาว่าหากหมดงานที่ประเทศไทยเขาจะกลับไปแต่งงานกับเธอ 

ศิริเดชเป็นกรณีพิเศษ เขามีคนมารักทุกคนรู้กันทั่ว เห็นชัดเจนเมื่อเขาถูกพูโลยิงที่ปัตตานีและถูกนำมารักษาตัวที่กรุงเทพฯ มีผู้หญิงสวย เฝ้าหน้าเตียงทุกวันไม่ได้ขาด 

แต่ศิริเดชวางตัวเฉยเมยกับอภิรดี แม้ว่าเธอแสดงตัวอย่างเปิดเผย เธอมีใจให้เขาอย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่สามารถชนะใจเขาได้ 

เอกรินทร์ครองตัวเป็นโสด แม้จะมีสาวๆในวงการตำรวจมาติดพันอยู่รายหลายแต่ก็เป็นความสัมพันธ์ที่ฉาบฉวย แม่ของเอกรินทร์พยายามแนะนำผู้หญิงที่สวยมากๆเป็นลูกคนที่ร่ำรวยมีตระกูลแต่เอกรินทร์กลับไม่สนใจจนแม่เขาโกรธและญาติฝ่ายหญิงไม่พอใจ 

ตุลย์เป็นคนสุดท้ายที่มีคนรักเป็นตัวเป็นคน แต่เขามีคนรักให้เลือกถึง 2 คน ในหมู่เพื่อนโคซิโอรู้ดีว่าตุลย์สับหลีกไม่เก่งพิมราเคยพบคิมเบอรี่แบบเห็นกันซึ่งหน้าคราวหนึ่งที่บ้านตุลย์  

แม้ว่าไม่ถึงกับ "บ้านแตก"  ทำให้พิมราโกรธ ไม่พูดกับตุลย์ไปหลายวันที่เขาใจดำปล่อยให้เธอลงกลางทางขึ้นรถแท็กซี่กลับบ้านเอง 

พฤติกรรมของตุลย์ทำกับลูกสาวครั้งนี้ คุณเกศรีถือว่าหยามหน้ากัน มันเกินเลยไป เธอให้ลูกสาวเลิกรากับตุลย์เสีย นึกเสียว่าผู้ชายคนนี้ มีแต่ทำให้ลูกสาวเธอเสียใจเปล่าๆ 

พิมรายังดื้อเพราะรักเขา เธอรู้ว่ามาทีหลัง รู้แก่ใจว่าตุลย์ต้องเก็บใจให้คิมเบอร์ลี่ เธอยอมให้อภัยในสิ่งที่เขาทำกับเธอ 

"แกจำไว้เถอะ ผู้ชายคนนี้ไม่มีวันยอมมาแต่งงานกับแกแน่" เกศรีย้ำวาจาสิทธิ์แข็งกร้าว......    

.ตุลย์ กล่าวถึงคิมเบอร์ลี่ คบกันกับตุลย์มาตั้งแต่เป็นเด็ก มารักกันจริงๆ เมื่อเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย เขายอมรับว่าคิมเบอร์ลี่กับเขามีความสัมพันธ์พิเศษ ครอบครัวทั้งคู่รู้จักกันดีและเคยพบกันแล้วในนิวซีแลนด์ 

ส่วนเขาจะเลือกใคร เป็นเรื่องกาลเวลาจะพิสูจน์ เขาเชื่อในหลักธรรมนี้ 

เพื่อนทุกคนเห็นพ้องกันว่า ใครแต่งงานเมื่อไร ก็จะไปกันครบทั้งทีมและเป็นเพื่อนเจ้าบ่าวให้ด้วย 

สำหรับตุลย์เขายังมีข้อผูกพันเป็นพันธะสัญญาเรื่องเงินที่ให้ไว้กับคิม  เธอให้เขาดูแลทรัพย์สินในกรุงเทพฯ และในนิวซีแลนด์จำนวนมาก 

ในกรุงเทพฯ คือเงินในธนาคารกรุงไทย สาขาซอยทองหล่อและตุลย์ต้องพบผู้จัดการธนาคารเพื่อจัดการเรื่องบัญชีเงินฝากเสียก่อน เมื่อตุลย์ไปขอพบผู้จัดการธนาคารกรุงไทย สาขาทองหล่อ 

"ผมชื่อสกลครับเป็นผู้จัดการสาขาที่นี่ ยินดีมากที่ได้รู้จักคุณตุลย์ คุณมีชื่ออยู่ในบัญชีเงินฝากประจำที่คุณคิมเบอร์ลี่ทำไว้ในนามคุณ 7 ล้านบาท ครบกำหนดคิดดอกเบี้ยแล้วนะครับจะเอาอย่างไรดี" 

"คงจะยังไม่ทำอะไรหรอกครับ...ผมเพียงแค่มาตรวจสอบว่ามีบัญชีนี้จริงๆตามที่คุณคิมเบอร์ลี่บอกไว้น่ะครับ" ตุลย์บอกคุณสกล "อีกอย่างหนึ่งผมอยากทิ้งบัญชีไว้อย่างนี้ ผมจะกลับมาธนาคารอีกที เพราะคงต้องปรึกษากับคุณคิมเบอร์ลี่อีกครั้งหนึ่งเธอคงมาพบผมเร็วๆนี้" ตุลย์พูดจบก็บอกลาคุณสกลแล้วก็ออกจากธนาคาร 

                                  ............................ 

วันรุ่งขึ้นตุลย์ติดต่อกับอภิรดีเลขานุการ นายฉัตรชัย สกุลรัตนชัยผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดบริษัทมาร์ตินแอนด์เคนขอพบ เพื่อปรึกษาเรื่องหุ้นและการเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้น  

นายฉัตรชัยต้อนรับตุลย์อย่างดี 

"ตุ้มเรียกลัดดาเข้ามาหาผมหน่อย" ฉัตรชัยพูดผ่านอินเตอร์คอมถึงเลขาฯของเขา ให้ตามลัดดาพนักงานรับใช้ให้มาที่ห้องกาแฟ สักครู่ลัดดาก็เข้ามารับงานจากผู้อำนวยการ 

"ตามเดิมใช่ไหมคะ"ลัดดาถาม   

"ใช่ ตามเดิม ขอแซนวิชแอสพารากัสเพิ่ม 2 ที่ด้วยนะ" 

รู้กันว่าท่านผอ.ชอบแซนวิชแฮมชีสและแซนวิชแอสพารากัส ในเวลาพัก 10.00 น. เขาจะรับประทานแซนวิชและดื่มกับกาแฟร้อนไม่ใส่นม แต่ต้องมีครีมเทียมให้สำหรับแขกทุกครั้ง 

"คุณตุลย์ รับของว่างก่อนนะครับ เรื่องธุระเราค่อยๆ คุยกันไป"  

ฉัตรชัยพูดเพื่อถ่วงเวลา อภิรดีรู้ใจว่านายให้เธอเช็คประวัติแขกที่เข้ามาพบเขาทุกคน 

เมื่ออภิรดีได้ข้อมูลส่วนตัวตุลย์ เธอก็จัดพิมพ์ลงบนกระดาษ เก็บสำเนาไว้  เอกสารตัวจริงนำไปวางให้นายฉัตรชัย ตุลย์รู้ แม้ไม่ได้สังเกต เขาเพียงแค่ชำเลืองมอง 

"คุณตุลย์ เป็นเพื่อนกับคุณศิริเดชใช่ไหมครับ" ฉัตรชัยพูดตามเอกสารที่อภิรดีเตรียมไว้ 

"ใช่ครับ เป็นทั้งเพื่อนนักเรียนและเพื่อนร่วมงาน...มีอะไรหรือครับ" ตุลย์ตอบไปตามความจริง 

"เลขาฯ ผมรู้จักกับคุณศิริเดชดี พ่อกับพ่อเป็นเพื่อนกัน" ฉัตรชัยพูดเพิ่มเติม 

"คงเป็นอย่างนั้นครับ" ตุลย์ เริ่มไม่พอใจ ทำไมฉัตรชัยยกเรื่องนี้มาพูด ตุลย์เริ่มหงุดหงิด 

เขาจึงรีบชิงพูดขึ้นมา 

"เรื่องคุณอภิรดีกับคุณศิริเดชรู้จักกัน ไม่เกี่ยวกับธุระที่ผมต้องการคุยกับคุณนะครับ" 

นายฉัตรชัยนั่งนิ่งอยู่บนโต๊ะอยู่พักหนึ่ง ลุกขึ้น เดินไปมาอย่างผู้กำลังใช้ความคิด ตุลย์ยิ่งรำคาญใจและเหลือความอดทน 

ท้ายที่สุดนายฉัตรชัยพูดว่าเขาพร้อมตกลงจะคุยธุระกับตุลย์แล้ว 

"ผมรู้แล้วว่าคุณตุลย์จะพูดธุระกับผมเรื่องอะไร" นายฉัตรชัยว่า 

"เรื่องอะไรครับ" ตุลย์ถามกลับ 

"คุณต้องดูแลเงินร้อยล้านในหุ้นมาร์ตินแอนด์เคนใช่ไหมครับ" 

"ไม่ใช่เรื่องเงินเรื่องเดียวครับ...แต่มันเป็นเรื่องสิทธิ์ของผมที่จะเข้านั่งไปในบอร์ด" ตุลย์พูดตรงเป้า 

"เรื่องนี้ผมไม่ทราบมาก่อน" ฉัตรชัยมีเหงื่อซึมขึ้นบนหน้าผาก 

"คุณก็รับทราบเดี๋ยวนี้เลย"ตุลย์ตอบ ฉัตรชัยยังนิ่งเหงื่อเริ่มไหล 

"ผมได้รับหนังสือมอบให้เป็นตัวแทนในฐานะผู้ถือหุ้นร้อยละ 18 และยังมีสิทธิ์ที่จะอยู่ในคณะกรรมการบริษัทมาร์ตินแอนด์เคนที่จะประชุมอาทิตย์ที่จะถึงนี้" 

"แต่ผมไม่คิดว่ามีการประชุมอาทิตย์หน้า คุณเกศรีเสนอให้เลื่อนการประชุมออกไป" 

"ผมได้รับจดหมายยืนยันการประชุมเมื่อวานนี้เอง" ตุลย์ย้ำคำว่าเมื่อวานนี้ 

"คุณเกศรียื่นขอเลื่อนการประชุมและท่านประธานฯได้หารือกรรมการและเลขานุการรวมทั้งบุคคลอื่นๆ ก็ตกลงกันไปแล้ว ก่อนคุณตุลย์มา10นาที บอร์ดทุกคนเห็นด้วย เลื่อนการประชุมแน่นอนครับ" 

"ไอ้ระยำ" 

ตุลย์สบถ เขาจะไม่ยอมเสียมารยาทกับบริษัทนี้อีก  

เขาลานายฉัตรชัย เดินผ่านหน้าอภิรดี ไม่ได้มองเธอด้วยซ้ำและตั้งใจจะบอกศิริเดชว่าเธอสมคบอยู่กับความสกปรก เล่นใต้โต๊ะ แอบเช็คประวัติส่วนตัวของเขา 

ตุลย์เก็บกระดาษที่วางอยู่บนโต๊ะทำงานนายฉัตรชัยไปด้วย เขาเห็นอภิรดีวางไว้ เมื่อออกจากห้อง เขาปามันทิ้งลงในตะกร้าขยะหน้าลิฟท์  ตัวเขาใช้บันไดเดินลงมาถึงพื้นชั้นล่าง ขับรถยนต์กลับที่ทำงาน 

...........เมื่อถึงบ้านเอกมัย เขาพบศิริเดชเล่าเรื่องไปพบนายฉัตรชัยผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดบริษัทมาร์ตินแอนด์เคน เขาเล่าถึงคำพูดยียวนกวนประสาท ตุลย์บอกผิดหวังกับการกระทำของอภิรดีเลขานุการของนายฉัตรชัย ที่ช่วยหาข้อมูลส่วนตัวให้นายฉัตรชัย 

"มันมากเกินไป อภิรดีทำลับหลังผม หากจะทำเมื่อผมเสร็จธุระกับนายของเธอ ผมจะไม่ว่าเลย...แต่นี่ทำให้ผมเห็น... ผมแอบเห็นโดยไม่ตั้งใจ เธอยื่นกระดาษแผ่นมีประวัติผมให้นายฉัตรชัย" 

ศิริเดชมีข้อสงสัย 

"แล้วนายรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเอกสารที่มีข้อมูลส่วนตัวของนาย" 

"จะไม่รู้ได้อย่างไร...มันถามแต่เรื่องส่วนตัว เช่นเราเป็นเพื่อนกัน เรื่องพ่อนายกับพ่ออภิรดีเป็นเพื่อนกัน ยังเรื่องผมจะมาพูดเงินของคิมเบอร์ลี่ร้อยล้าน" 

ศิริเดชลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้รับแขกมาตบไหล่เพื่อน 

"เอาละฉันจะพูดกับอภิรดีเอง" แล้วศิริเดชก็ชะงักนิดหนึ่ง พูดต่อว่า "อ้อฉันมีเรื่องส่วนตัวที่สำคัญกว่า มันต้องสะสางให้เด็ดขาดกับเธอด้วย" 

ศิริเดชคิดมานาน เรื่องความรักของอภิรดี เธอพยายามยัดเยียด เและเขาปฏิเสธไม่ได้เสียที เมื่อตุลย์มีเรื่องที่เธอมีความประพฤติไม่เหมาะสม ศิริเดชคิดว่าจะใช้โอกาสนี้จบเรื่องทั้งหมด ปลดเปลื้องปัญหาทั้งมวลให้รู้แล้วรู้รอดเสียครั้งเดียว 

ไม่กี่วันต่อมา หลังจากพ่อพบคุณโยธินและอภิรดีที่โปโลคลับและกลับมาบ้านด้วยกัน  เขาถือโอกาส เรียกอภิรดีมาที่ระเบียงหน้าบ้าน หลบไม่ให้ผู้ใหญ่รู้เห็น 

"รู้ตัวไหมว่าพี่ตุลย์เขาไม่พอใจ วันที่ไปหาคุณฉัตรชัย หนูเอาประวัติพี่เขา ไปให้คุณฉัตรชัยดู มันผิด และเสียมารยาทด้วย" ศิริเดชต่อว่า 

"มันเป็นเรื่องปรกติ บริษัทมีนโยบายให้ปฏิบัติทุกครั้ง เมื่อมีแขกมาพบผู้อำนวยการฯค่ะ" 

"นั่นแหละ...มันผิด...ไม่มีที่ไหนเขาทำกัน ยิ่งตอนตุลย์เขาอยู่ด้วย" 

" พี่ศิริเดชคะ ถ้าเป็นพี่ นายสั่งพี่จะขัดคำสั่งหรือ" อภิรดีย้อนเอาดื้อๆ 

"มันไม่ใช่อย่างนั้น  เธอทำก็ได้ เมื่อพี่เขาหมดธุระกับคุณฉัตรชัย ให้แขกลากลับออกไปเธอเข้าใจไหม? ทำทีหลังก็ได้ใช่หรือไม่?"......  

"แต่หนูคิดว่ามันเป็นข้อมูล ที่นายต้องการเจรจาต่อรองในเวลานั้น" 

อภิรดียังมีความเห็นแย้งเหมือนเดิม 

"เอาละ เป็นอันว่าเรามีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องนี้" 

"เรื่องคิดไม่ตรงกันยังไม่สำคัญ เท่ากับเรื่องของเธอที่มายุ่งในเรื่องของพี่" ศิริเดชพูดตรงเป้า 

"ตุ้มน่ะเหรอไปยุ่งเรื่องพี่เดช " อภิรดีถาม 

ศิริเดชใช้โอกาสนี้เป็นประโยชน์เสียที   

"ทำไมล่ะพี่เดช" อภิรดีย้อนคำพูดศิริเดชทันที 

"ก็เพราะตุ้มไม่เคยอยู่ในใจพี่เลย...เข้าใจไหม? ไม่มีแม้แต่จะคิด นึกหรือว่าพี่เห็นตุ้มเป็นคนพิเศษนอกจากเป็นน้อง เป็นลูกสาวของเพื่อนพ่อพี่" 

อภิรดีอึ้ง เธอไม่เชื่อว่าจะได้ยินคำพูดนี้ออกจากปากเขา และในวันนี้เธอถามตัวเองว่าทำไมเธอทำอะไรผิด เธอผิดใจกับศิริเดชเมื่อไรกัน หรือว่า เรื่องเล็กน้อยที่เธอหาข้อมูลคุณตุลย์ ทำให้เขาคิดว่ามันเป็นความผิดใหญ่โตถึงเพียงนี้ 

"ตุ้มรู้ว่าผิด ทำเรื่องไม่ดีไว้กับพี่ตุลย์ในที่ทำงาน ตุ้มสัญญาว่าจะไม่ทำอีก ตุ้มขอโทษแทนพี่เขาผ่านพี่เดชด้วย" อภิรดีไม่แน่ใจว่านี่คือปัญหา 

"ตุ้มอย่าเอาเรื่องตุลย์มาเกี่ยว...พี่กำลังพูดเรื่องของเธอ"  

ศิริเดชแก้คำแก้ตัวของเธอ 

"ตุ้มต้องเข้าใจนะ ตุ้มยังเด็ก ยังจะได้พบคนอีกมากมาย มีโอกาสเปิดตัวเองกับคนที่เหมาะสมกับตุ้ม สำหรับพี่เอง ย่อมมีคนที่เหมาะสมในวัยเดียวกับพี่...แต่เดี๋ยวนี้และในอนาคตมันจะไม่มีวันที่จะเป็นตุ้มเด็ดขาด" ศิริเดชพูดกับตุ้มอย่างชัดเจนตรงไปตรงมา   

 อภิรดีน้ำตาไหลพราก เธอร้องไห้ ลุกขึ้นเดินออกจากระเบียงไปประตูหน้าบ้าน 

ตุ้มไม่ได้หันกลับมามองศิริเดช อีกเลย  

เธอเดินเช้าๆ ออกนอกบ้านจนกระทั่งถึงถนนใหญ่ น้ำตายังนองหน้า 

เธอโบกมือ ได้รถแท็กซี่คันหนึ่ง เข้าไปนั่งข้างใน เช็ดน้ำตาจนแห้ง บอกแท็กซี่ให้ไปส่งเธอที่บ้าน 

บางทีความรักไม่ได้เกิดแค่คนนี้คนเดียวและมีครั้งเดียว  

และน้ำตาอาจไม่ใช่อาการของคนอกหักเสมอไป 

                                                           ................................. 

 

           คิมเบอร์ลี่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อมาหาตุลย์โดยเฉพาะเพื่อหารือเรื่องการเงินที่ฝากไว้ที่ธนาคารกรุงไทยเพื่อให้ธนาคารอัพเดทสมุดฝากและฝากเพิ่มเติมเงินให้ครบเป็น20ล้าน 

           “คิมคุณฝากเงินไว้ในบัญชีที่ธนาคารในไทยทำไมเยอะแยะในเมื่อคุณไม่จำเป็นต้องใช้มัน”         

           “ตุลย์ฉันต้องมีเงินฝากไว้ที่นี่สำหรับคุณใช้เอง10ล้านและวันหนึ่งอีก10ล้านคุณต้องดูแลบัญชีให้คนที่ฉันจะฝาก คุณไว้และคุณต้องรักดูแลด้วย ฉันพูดได้แค่นี้แหละ” 

           คิมมากรุงเทพฯคราวนี้มาพักผ่อนจริงๆเธอและตุลย์เดินทางด้วยรถยนต์ลงไปกระบี่พักผ่อนที่อ่าวพระนาง  2 อาทิตย์หลังจากนั้นจึงเดินทางกลับนิวซีแลนด์ นับเป็นการมากรุงเทพฯที่สั้นที่สุด 

           เธอยื่นจดหมายให้ตุลย์กับมือก่อนเข้าประตูทางออกสนามบิน เขาเปิดดูแล้วตกใจแต่เธอเดินลับตาไปแล้ว 

                                               “ฉันไม่สบายมาก แต่ไม่ต้องห่วง” 

........................................................วันที่ 4 มกราคม 2540 

สหชาติได้รับจดหมายพร้อมพัสดุจากนางคาลยาจินเมืองเชเลคอฟ อีร์คุตสก์ โอบาสท์ เมื่อเปิดดูจึงพบชื่อนางอิริน่า คาลยาจินคนรู้จักใกล้ชิดกับดิมิตราผู้ที่เขาเคยช่วยเหลืออดีตเคจีบีซึ่งได้ลี้ภัยไปอยู่อังกฤษและอิริน่าเชื่อว่าเธอถูกฆ่าตาย ถูกกดน้ำตายในอ่างน้ำโดยเคจีบีในลอนดอนไม่ใช่หัวใจวายตายตามที่ทางราชการอังกฤษแถลง 

จดหมายจากอิริน่า มีมาพร้อมเช็คราคาหนึ่งล้านที่เขาเคยนำไปให้จากดิมิตรา เธอระบุว่าไม่จำเป็นต้องใช้เพราะเธอมีเงินจากบำนาญรัฐบาลจ่ายให้และเธอใช้จ่ายอย่างมัธยัสถ์ คือเหตุผลที่เธอคืนเงินและส่งคืนพร้อมพัสดุซึ่งเป็นของส่วนตัวที่ดิมิตราฝากไว้  

เธอว่าอาคารรัฐที่เธออยู่กำลังถูกรื้อถอนเพื่อปลูกสร้างขึ้นมาใหม่ เธอจะถูกย้ายไปอยู่เมืองอื่นใกล้เคียง จำเป็นต้องขนของออกและมีของส่วนตัวของดิมิตรา แต่เธอเสียชีวิต ญาติพี่น้องก็ตายหรือไม่ก็สาปสูญหมดแล้ว เหลือแต่เขา สิ่งของดิมิตราจึงควรเก็บไว้กับเขา ส่วนรูปภาพที่มีเธออยู่ด้วยเธอขอไว้เพื่อเป็นที่ระลึก 

สหชาติเปิดห่อพัสดุพบว่ามีสมุดภาพของดิมิตราตั้งแต่เป็นเด็กอ่อนถ่ายกับพ่อแม่ ภาพเดี่ยวขณะเป็นเยาวชนสันนิบาตคอมมิวนิสต์ได้รับเหรียญ พลิกข้างหลัง ระบุว่าเป็นเหรียญมาร์กซ์-เลนิน มีรูปเธอขณะเรียนมหาวิทยาลัย รูปเธอกับพี่ชายขณะรับปริญญาและหลักฐานการเป็นสมาชิกพรรคคอมนิวนิสต์ 

ในภาพถ่ายมีเธอกับผู้ชายหลายคน บางรูปมีผู้ชายเข้าใจว่าเป็นคนมองโกล แต่มีคนหนึ่งสหชาติเข้าใจว่าน่าจะเป็นคนไทย แต่ไม่แน่ใจเพียง แต่รู้สึกคุ้นตาเท่านั้น  คนไทยจะไปทำอะไรและทำไมที่อีร์คุตสก์นอกจากรูปภาพแล้วในห่อพัสดุ ยังมีกล่องใส่เหรียญ สหชาติเชื่อว่าบางชนิดคงเป็นเหรียญกล้าหาญ บางเหรียญอาจบอกตำแหน่งยศอะไรสักอย่าง มีหนังสือคู่มือทำกลไกอะไรสักอย่างเกี่ยวกับระเบิดหรือจักรกลที่อาจจะไว้ทำระเบิด  

ที่เหลือคือหมวก เสื้อผ้าและเศษกระดูกสัตว์ อาจเป็นเขี้ยวหรือฟันของหมูป่า ไม่รู้ว่าดิมิตราเก็บไว้ทำไม 

ขณะที่สหชาติกำลังจะปิดกล่องก็สังเกตที่มุมกล่องสลักข้อความว่า DM08523 เขาเข้าใจว่า DM น่าจะหมายถึงดิมิตราแต่ 08523 น่าจะเป็นรหัสชื่อของเธอในสมาชิกพรรคเท่านั้น เขาไม่ติดใจอะไร 

สหชาตินำของทั้งหมดออกมาวางเรียงกันไว้เป็นแถวๆ แยกระหว่างรูปกับเหรียญส่วนเช็คเขาเก็บต่างหากไว้กับตัว เมื่อศิริเดชเข้ามาที่บ้านเอกมัยและเห็นสหชาตินำสิ่งของและจดหมายจากเซเลคคอฟ อีร์คุตสก์มาวางบนกองเรียงกันก็มาดูด้วยความสนใจกระทั่งมาจนถึงส่วนที่เป็นรูปภาพ เขาก็หยุดที่ภาพดิมิตราถ่ายกับผู้ชายหลายคน  ศิริเดชเรียกสหชาติเค้ามานั่งใกล้ๆ เขาหยิบรูปหนึ่งขึ้นมาดู สหชาติพูดขึ้นทันที 

"เราคิดว่าคนนี้เหมือนคนไทยนายว่างั้นไหม?" สหชาติดูรูปอีกที 

"ไม่เหมือนหรอก แต่คนไทยเลยละ" ศิริเดชบอกชัดเจน 

"จริงหรือทำไมรู้ล่ะ"สหชาติถามด้วยความสงสัย  "นอกจากจะรู้แล้ว ยังเคยเจอด้วย" ศิริเดชตอบ 

"แปลว่านายรู้จักกันใกล้ชิดกันดี แต่เขาไปทำอะไรแถวไซบีเรีย?" 

"ไปแถวนั้นไม่รู้  แต่แน่ใจเพราะว่า เขาเป็นพ่อของอภิรดี ลูกน้องนายฉัตรชัยผอ.มาร์ตินแอนด์เคน" 

สหชาตินึกในใจว่า ถ้าเช่นนั้น ต้องหาคำตอบให้ได้ว่า ศิริเดชพูดอย่างจริงจัง พ่อค้ายุทธปัจจัยกับอดีตเคจีบีมีความสัมพันธ์กันฉันท์ใดและเป็นเรื่องแปลกมาก 

"ถ้านายสนิทกับคุณโยธิน ช่วยสืบหน่อยนะว่าเขาไปอีร์คุตสก์ทำไม ถามว่าพบผู้หญิงที่ชื่อดิมิตราหรือไม่" สหชาติคิดว่าคำตอบยืนยันอาจเป็นไปได้ว่า คุณโยธินไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไรกับดิมิตราตามที่เขาเคยคิด  ศิริเดชจึงขอรูปที่มีนายโยธินกับดิมิตราติดตัวไปด้วย เขาจะแสดงภาพถ่ายและถามตรงๆ ว่ารู้จักกันหรือเปล่า ถ้ารู้จักกันพบกันกี่ครั้งแล้ว 

อาทิตย์ต่อมาศิริเดช พบโยธินเมื่อเขาไปเล่นเทนนิสกับพ่อในโปโลคลับ เขานำภาพถ่ายปริศนาให้โยธินดู   

"อือใช่... ผมพบนาตาชาที่อีร์คุตสก์ ก็ตอนไปทัวร์กับเพื่อน เธอสวยดี เธอมีเพื่อนมาด้วยเลยถ่ายรูปเก็บใว้ ว่าแต่คุณได้รูปของเธอมาได้ยังไง” 

"เธอบอกคุณอาว่าชื่ออะไรนะครับ"ศิริเดชถาม "ชื่อนาตาชาจำแม่นชื่อเหมือนดาราไทยคนหนึ่ง   นาตาชา เปลี่ยนวิถีผมจำได้" โยธินตอบชัดเจน สหชาติมาพร้อมข้อมูลที่เขาค้นเพิ่มเติมที่น่าสงสัยยิ่งขึ้นว่าไม่แต่จะพบดิมิตราในชื่ออะไรก็ตาม แต่โยธิน ปรางอ่อนเดินทางไปอีร์คุตสก์หลายครั้งเกือบทุกเดือน บางเดือน 2 ครั้งใช้วีซ่านักธุรกิจ เขาไปทำอะไรและทำไมต้องพบกับสายลับเคจีบี 

ศิริเดชใช้เส้นสายในกองทัพติดต่อกับพวกจัดซื้อดูว่าในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมามีการจัดหาอาวุธจากแหล่งที่ผลิตในประเทศรัสเซียบ้างหรือเปล่า ได้พบว่ามี เช่นกองทัพไทยสนใจในเฮลิคอปเตอร์และรถเกราะสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกและอาวุธหนักเบาบางประเภทจากรัสเซีย แต่สำหรับผู้เข้ามาติดต่อเป็นนายหน้ายังไม่ปรากฎมีชื่อนายโยธิน ปรางอ่อน มีแต่คนอื่นซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วไม่มีใครเคยเดินทางไปอีร์คุตสก์ 

"น่าสงสัยว่าทำไมนายโยธินถึงเดินทางไปอีร์คุตสก์และต้องไปพบดิมิตราซึ่งนายโยธินบอกว่าชื่อ นาตาชา" สหชาติมีความเห็นและคิดว่ามีข้อสงสัยว่าทำไมนายโยธินไปอีร์คุตสก์บ่อยๆ และทำไมดิมิตราถึงบอกว่าเธอชื่อนาตาชา  สหชาติคิดว่าน่าจะถามอิริน่าเผื่ออาจจะได้เบาะแสบ้าง สหชาติจึงส่งจดหมายด่วนลงทะเบียนถามข้อสงสัยเกี่ยวกับผู้ชายไทยในรูปกับดิมิตราแต่ทำไมเธอใช้ชื่อนาตาชา 

โชคดีที่อิริน่ายังอยู่ที่เดิมและบ้านเธอยังไม่ถูกรื้อถอน อิริน่ารับจดหมายจากประเทศไทยโดยเธอยังจำภาพถ่ายได้ดีโดยเฉพาะชาวไทยที่ดิมิตราเคยพามาที่บ้านและรับประทานอาหารค่ำด้วยกัน 

ชาวไทยคนนั้นว่าเขาเป็นนักธุรกิจมาอีร์คุตสก์เพื่อการท่องเที่ยวและมาพบนาตาชาถูกชะตากันจึงคบกันต่อเนื่อง อิริน่าตอบจดหมายถึงสหชาติยอมรับว่าดิมิตราบางครั้งใช้ชื่อว่านาตาชาด้วยและตัวเธอเองก็เคยพบกับนายโยธิน ส่วนเรื่องนาตาชากับนายโยธินคบกันอย่างไร อิริน่าว่าเป็นเรื่องส่วนตัวแต่ทั้งคู่สนิทกัน 

สหชาตินำจดหมายให้ศิริเดชดูและหารือกันว่าจะเดินเรื่องอย่างไรในเมื่อเป็นเรื่องส่วนตัวมากกว่าเรื่องการเมือง  สหชาติตั้งข้อสังเกตว่าระหว่างอยู่ในประเทศไทยดิมิตราไม่มีวี่แววที่จะติดต่อนายโยธิน และนายโยธินก็ไม่มีความพยายามที่จะติดต่อดิมิตรา 

เรื่องควรจะยุติแค่นี้ แต่นายโยธินออกมายอมรับว่าตนมีความสัมพันธ์กับนาตาชาที่เขาไม่ออกมาพูดก่อนหน้านั้นเพราะไม่ต้องการทำให้ภรรยาเสียความรู้สึก แต่บัดนี้ได้ทำความเข้าใจกันแล้วจึงต้องออกมาพูดบ้างมีบางเรื่องควรทำให้กระจ่าง 

ศิริเดชถามว่านายโยธินรู้หรือไม่ว่านาตาชาเป็นเคจีบีหรือไม่ นายโยธินตอบว่ารู้เพราะนาตาชาเป็นคนบอกเขาเอง และเขาก็ไม่แปลกใจหากใครจะคิดว่า เขาถูกชักจูงให้ร่วมมือกับเคจีบี เขาไม่มีอาชีพเป็นสายลับจึงไม่กลัวคำกล่าวหา 

ก่อนที่เรื่องจะบานปลาย นายเมธา วิสูตรภิบาล เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติได้เรียกทีมงานโคซิโอเข้าพบเพื่อชี้แจงตอบข้อข้อสงสัยทั้งหมด 

"ทั้งหมดที่โคซิโอสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลลับทั้งหมด คุณโยธิน ได้รับมาจากดิมิตราในฐานะอดีตเคจีบี เช่นเรื่องข้อมูลลับทางการทหาร ที่ตั้งฐานทัพของรัสเซียทางภาคใต้ และการพัฒนาอาวุธชีวะเคมีที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน" 

นายเมธา อธิบายว่า ทำไมนี่จึงเป็นเหตุผลว่าคุณโยธินถึงเดินทางไปอีร์คุตสก์บ่อยๆ เพื่อรับข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาล 

"จากคุณดิมิตราคนเดียวหรือครับ" ตุลย์ตั้งคำถาม 

"ไม่ใช่แค่คนเดียว แต่มีเครือข่ายเพื่อนๆ ดิมิตราให้ความร่วมมือด้วย" เมธาให้ความเห็น 

พร้อมบอกว่าไหนๆ มากันแล้วก็จะแสดงหลักฐานบางชิ้น 

เมธาสั่งให้ฉายภาพชุดขึ้นจอแสดงภาพฉายบนจอเป็นที่ตั้งฐานทัพ 3 แห่งซ่อนอยู่ในหุบเขา มีขีปนาวุธติดตั้งบนรถยานขนส่งสำหรับขีปนาวุธโดยเฉพาะ นอกจากนั้นยังมีภาพโรงงานเคมีขนาดใหญ่ผลิตอาวุธกลางป่า เห็นภาพคนหลายคนทำงานอยู่ข้างใน นอกจากภาพเหล่านี้ยังมีภาพการพัฒนาขีปนาวุธและปืนรุ่นใหม่ชนิดต่างๆ อีกมากมาย 

"นี่เป็นภาพบางส่วนที่โยธินได้มาจากดิมิตรา...ยังมีอีกมากที่เรากำลังตรวจสอบหาหลักฐานว่ามันเป็นจริงไม่ใช่ถูกปลอมขึ้นมา เพราะในครั้งแรกเรามีข้อสงสัยว่าดิมิตราอาจจะหลอกโยธิน" 

เมธาหยุดฉายภาพ เปิดไฟในห้อง ถามว่ามีใครข้องใจ อะไรอีกไหมและกล่าวว่ าโยธินช่วยงานสภาความมั่นคงเป็นครั้งคราวมานานแล้ว หลังจากเขาทราบจากดิมิตราว่าเธอเป็นเคจีบีจากปาก โยธินก็ติดต่อสภาความมั่นคงเพื่อพิจารณาหาลู่ทางทำงานกับเธอเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป ข้อมูลนี้ไทยยังให้กับมิตรประเทศบางประเทศด้วย เหตุที่เธอไม่ติดต่อโยธินเมื่อเดินทางเข้าประเทศไทย เพราะเธอถูกติดตามอยู่ โดยเธอเชื่อว่าเป็นเคจีบีที่สงสัยว่าเธอจะแปรพักตร์และหาทางหลบหนีออกจากประเทศโดยใช้ไทยเป็นทางผ่าน ในที่สุดก็จริง เธอแปรพักตร์ได้สำเร็จไปอยู่ในอังกฤษ                                            

แต่ในที่สุดพวกเคจีบีก็ทำได้สำเร็จเหมือนกัน 

คือตามไปฆ่าเธอที่ลอนดอน 

แสดงเพิ่มเติม

รีวิว (0)

เรื่องนี้ยังไม่มีรีวิว