รักษ์ทะเลไทย
0
ตอน
484
เข้าชม
30
ถูกใจ
1
ความคิดเห็น
0
เพิ่มลงคลัง

 

ผมชื่อ “เอก” ชื่อจริงคือ “เอกเขนก” ผมเป็นนักวิจัยหนุ่มใหญ่ งานหลักคือ ประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม(Environmental impact assessment) จากโครงการของรัฐบาล ส่วนแฟนของผมน่ะเหรอ? เธอชื่อ “ผึ้ง” เป็นนักวิจัยเหมือนกัน เรามักจะทำงานด้วยกันเสมอ

อ่าวไทยที่รัก

ตอนนี้เราได้รับมอบหมายให้มาสำรวจทะเลอ่าวไทยที่จังหวัดชลบุรี เนื่องจากมีความเสื่อมโทรมอย่างมาก เช่น ปะการังตายซาก สัตว์น้ำมีน้อยลง รวมถึงปัญหาขยะในท้องทะเล ซึ่งทำให้เต่าทะเลหรือปลาทะเลกินขยะเข้าไปในปริมาณมาก หรือปัญหาปนเปื้อนของสารตะกั่วและน้ำมันรั่วไหล ทำให้สัตว์น้ำหลายตัวต้องตายไปอย่างน่าเสียดาย

เมื่อต้นปีนี้เอง มีรายงานจากชาวประมงว่าพบจระเข้ยักษ์ที่บางแสนพร้อมข่าวคนหาย ผมและแฟนจึงรีบไปยังที่นั่นทันที จากคำให้การของพยานเราพบว่ามันมีลักษณะคล้ายกับจระเข้ดึกดำบรรพ์เมื่อหลายหมื่นปีก่อน จนกระทั่งเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีรายงานว่าพบจระเข้ยักษ์ใกล้เกาะเสม็ด ทีมวิจัยได้เดินทางไปยังแหลมบาลีฮายเพื่อต่อเรือไปยังเกาะเสม็ดทันที

บนเกาะเสม็ดนี้มีอาหารทะเลวางขายมากมาย โดยเฉพาะหมึกและกุ้ง พวกเรากำลังนั่งรอจระเข้ตัวนั้น จนกระทั่งค่ำคืนหนึ่งที่เงียบสงัดบนเกาะเสม็ด เราได้ยินเสียงตะโกนของชาวบ้าน โอ้ พระเจ้า!! เราได้พบกับจระเข้ยักษ์ตัวนั้น มันกำลังอาละวาดในทะเลด้วยสัญชาตญาณของสัตว์ในการเอาชีวิตรอด แต่ไม่นานนักมันก็สิ้นใจตาย ในวันถัดมาสัตวแพทย์ระบุว่ามันตายเนื่องจากกินขยะและสารพิษเข้าไปในปริมาณมาก

ผมและแฟนได้เขียนรายงานวิจัยที่ยาวประมาณ 80 หน้า เพื่อของบประมาณในการทำโครงการนี้ นอกจากนี้เราได้ทำแผ่นพับ แผ่นโปสเตอร์ และเขียนหนังสือเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงบรรยายในสถานศึกษาต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, โรงเรียนวัดราชาธิวาส, โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์, โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนโยนออฟอาร์ค เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม

ในรายงานวิจัยได้ระบุว่าปัญหาขยะในท้องทะเลหรือแหล่งน้ำมีสาเหตุมาจากขยะล้นเมือง พวกเราจึงคิดสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย เพื่อแก้ปัญหาขยะล้นเมือง แต่จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าเราต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนจำนวนมาก และมีผลกระทบอย่างน้อย 4 ด้าน คือ...

 

 

1.       ด้านกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้า

เชื้อเพลิงที่ใช้ส่วนใหญ่คือ ขยะมูลฝอยต่างๆ ในประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น 27.06 ล้านตันในปี 2559 มีปริมาณขยะมูลฝอยที่กำจัดอย่างถูกต้อง คือ ร้อยละ 35 มีการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์เพียงร้อยละ 21 โรงไฟฟ้าที่สร้างควรมีกำลังการผลิต (Capacity) ประมาณ 21.38 ล้านตันต่อปี ดังนั้น โครงการฯจึงจำเป็นต้องใช้เตาเผาขนาดใหญ่ (ใช้เงินลงทุนสูง) (ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ)

2.       การขนส่ง

เนื่องจากโรงไฟฟ้ามีความต้องการขยะ 58,575 ล้านตันต่อวัน หรือประมาณ 21.38 ล้านตันต่อปี รถบรรทุก 1 คัน บรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 8 ตัน ดังนั้นในแต่ละวันจะมีรถบรรทุกประมาณ 7,322 คันต่อวัน โดยการขนถ่ายขยะเข้าสู่บริเวณโรงงาน และลำเลียงขี้เถ้าออกนอกบริเวณโรงงาน ดังนั้นหากมีเชื้อเพลิงให้ขนถ่ายลำเลียงได้ทุกวันตลอดทั้งปี จะมีรถบรรทุกวิ่งประมาณ 1,221 คันต่อชั่วโมง หรือทุกๆ 1 นาทีจะมีรถบรรทุกวิ่ง 3 คัน

3.       ด้านฝุ่นละออง

ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น นอกจากจะทำให้บ้านเรือน และแหล่งน้ำสกปรกแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพ เช่น การระคายเคือง, โรคภูมิแพ้ และโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เป็นต้น เราอาจแก้ไขโดยใช้ผ้าคลุมปิดมิดชิด สร้างโรงเก็บขยะ ติดตั้งเครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต และทำพื้นที่กันชน ฯลฯ

4.       ด้านเสียงรบกวน

เราอาจสร้างห้องเก็บเสียงสำหรับเครื่องจักรชุดผลิต นอกจากเครื่องจักรแล้วยังมีการปล่อยไอน้ำเพื่อลดแรงดันจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าประมาณเพียงวันละ 2 ครั้ง ซึ่งจะรบกวนประชาชนหรือชุมชนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องประชาสัมพันธ์โครงการฯด้วยการประกวดความเรียง “คนไทยได้อะไรจากโรงไฟฟ้าขยะมูลฝอย?” ของกระทรวงพลังงาน

จากการประกวดเรียงความมีผู้สนใจเป็นจำนวนมากในทั้ง 3 ระดับ เราจึงสรุปได้เป็น 6 ประเด็น คือ...

1.       พลังงานไฟฟ้าจากการกำจัดขยะมูลฝอย

2.       กำจัดขยะที่กำลังล้นเมือง

3.       คนไทยมีสุขอนามัยดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค

4.       คนไทยมีความสุขมากขึ้นจากการใช้ไฟฟ้า

5.       สร้างรายได้กลับสู่ประเทศไทย คือ ธุรกิจบางอย่างต้องใช้ไฟฟ้ามาก เช่น โรงงานเหล็กต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อหลอมเหล็ก ซึ่งธุรกิจนี้สามารถส่งออกเหล็กเส้นและแผ่นเหล็กไปได้ทั่วโลก เป็นต้น

6.       ลดการทิ้งขยะลงสู่แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา หรืออ่าวไทย เป็นต้น

และในปีถัดมาเราได้รับงบประมาณจำนวน 5 หมื่นบาท ซึ่งนับว่าน้อยมากสำหรับโครงการใหญ่ขนาดนี้ เราร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของบางแสนและพัทยา โดยจัดจ้างชาวบ้านเก็บขยะในบริเวณชายหาดและในทะเลเขตน้ำตื้น เราทำงานกันอย่างไม่ลดละจนถึงทุกวันนี้

 

 

______________________________________________________________________________________________________

จบบริบูรณ์

แสดงเพิ่มเติม

รีวิว (0)

เรื่องนี้ยังไม่มีรีวิว