ครูต่างดาวที่รัก
4
ตอน
1.27K
เข้าชม
31
ถูกใจ
2
ความคิดเห็น
0
เพิ่มลงคลัง

ในฤดูร้อนปี 2030 มีชายคนหนึ่งกำลังหางานทำจากในอินเตอร์เน็ต เขาชื่อ “แดง” พึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ และในที่สุด เขาก็พบประกาศรับสมัครงานจากในอินเตอร์เน็ตของนาซ่า นาซ่ากำลังต้องการคนทำงานในดาวอังคารในหลายสาขา เช่น วิศวกร ช่าง สถาปนิก ครู ฯลฯ รายได้ดี แต่มีเงื่อนไขว่าอาจไม่ได้กลับมาบนโลกนี้อีก เขาคิดอยู่นานหลายเดือน ใจหนึ่งก็คิดว่าดีกว่าไม่มีงานทำ แต่อีกใจหนึ่งก็กลัวจะไม่ได้กลับมาเจอครอบครัวและคนที่รักอีก “เอาวะ” เขาตัดสินใจเด็ดขาด ในระหว่างนี้ เขาต้องเตรียมตัวเดินทาง จึงออกหาซื้อข้าวของที่จำเป็น เช่น ผ้าห่ม, เสื้อกันหนาว, ยาแก้ปวด, ยาแก้ไอ  ฯลฯ รวมถึงขอวีซ่าเดินทางไปยังดาวอังคารผ่านสถานฑูตอเมริกัน

และแล้ววันเดินทางก็มาถึง เขาถึงสถานีปล่อยจรวดก่อนเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 45 นาที เขาเดินสำรวจร้านค้าปลอดภาษีและห้องน้ำ โดยจรวดจะออกจากสถานีประมาณ 4 ทุ่ม 20 นาที เจ้าหน้าที่ตรวจวีซ่าและสแกน QR Code ใช้เวลาเพียงชั่วเสี้ยววินาที เขาได้นั่งในชั้นประหยัด (Economy Class) แอร์โฮสเตสแสดงการใช้เข็มขัดนิรภัยและหน้ากากอ๊อกซิเจนบนยานอวกาศ และแล้วก็ถึงเวลาที่รอคอย จรวดทะยานขึ้นเข้าสู่วงโคจรใน 15 นาที และดีดตัวออกมาจากโลก เขามองโลกผ่านกระจกเหมือนส้มแป้นสีน้ำเงิน เขามองเห็นดวงจันทร์ และเริ่มเดินทางสู่ดาวอังคาร

การเดินทางสู่ดาวอังคารใช้เวลาหลายชั่วโมงผ่านห้วงอวกาศที่มืดมิด และไม่นานนักหลังจากการวาร์ปครั้งที่ 2 เขาก็เดินทางถึงดาวสีแดงดวงใหญ่ มีดาวบริวารอยู่ 2 ดวง ยานอวกาศก็ลงจอดที่สถานี ซึ่งสถานีนี้เป็นโดมกระจกภายในมีเครื่องทำความอุ่นและสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ ตรงกลางสวนมีป้ายหินสีส้มแดงขนาดใหญ่จารึกข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า “ยินดีต้อนรับสู่ดาวอังคาร” ไม่นานนัก เขาก็เดินออกไปยังลิฟท์แก้วที่บังคับด้วยเสียง ซึ่งใช้สำหรับขึ้นไปยานพาหนะแปลกตา ผู้โดยสารคนหนึ่งบอกว่ามันเป็นรถรางลอยฟ้า ตัวรถเคลื่อนที่ออกจากสถานี ใช้เวลาไม่ถึง 15 นาที ก็ถึงที่หมาย เขาเดินออกมายังภายนอกอาคารที่มีอากาศเย็นถึง -40 องศาเซลเซียส ทั้งยังมีความดันอากาศที่เบาบาง แถมยังมีแรงดึงดูดน้อยกว่าโลกเสียอีก

ครูแดงเข้ารายงานตัวกับผู้อำนวยการโรงเรียน Mr. Robert พร้อมเสนอแผนการสอนรายคาบ ซึ่งเขาสรุปสั้นๆว่า “แผนการสอนนี้ส่วนใหญ่จะเน้นการถามคำถามเพื่อให้นักเรียนคิดและการยกตัวอย่างที่ครอบคลุมในสถานการณ์จริง (Real known Situation) ครับ” “แล้วคุณใช้กลวิธีการสอนแบบไหนล่ะ?” ผู้อำนวยการถาม “ผมใช้การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project Based Learning) ด้วยกลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ (Scaffolding) ครับ” ครูแดงตอบ “อืม ๆ ดีมาก ๆ ผมมอบหมายให้ครูปรีชาดูแลคุณละกัน” ผู้อำนวยการตอบรับเข้าทำงาน

หลังจากเข้าพบผู้อำนวยการเสร็จ ครูแดงก็เก็บสัมภาระต่างๆไว้ที่ห้องพักครูชั่วคราว วันนี้เขาต้องสอนแทนครูแอนที่ลาคลอดเป็นเวลา 3 เดือน เมื่อนักเรียนทำความเคารพ เขาจึงสั่งให้นักเรียนเปิดไอแพดเพื่อเข้าสู่บทเรียน “วันนี้ เราจะเรียนกันเรื่องสมการกำลังสองนะครับ” เขาเข้าบทเรียนด้วยการตั้งคำถามชวนให้คิด “หลังจากเรียนเรื่องสมการแล้ว นักเรียนคิดว่าสมการกำลังสองจะมีรูปแบบใดครับ?” นักเรียนคนหนึ่งตอบว่า “มี x กำลังสองครับ” ครูแดงพยักหน้า “แล้วมีอะไรอีกครับ?” นักเรียนอีกคนตอบว่า “ตัวสัมประสิทธิ์ไม่เป็นศูนย์ค่ะ” ครูแดงขานรับ “อืม เกือบถูกนะ” เขาจึงได้เริ่มสอนและยกตัวอย่างการคำนวณด้วยเว็บไซต์ www.graphpad.com ประมาณ 3-4 ตัวอย่าง ซึ่งกินเวลาไปเกือบ 30 นาที หลังจากนั้นเขาจึงให้ใบงานผ่านกูเกิ้ล ไม่นานนักอ๊อดก็ดัง “โอ้!! หมดเวลาแล้วหรือ?” เขาอุทานเสียงดัง “อย่าลืมทบทวนบทเรียนและทำการบ้านนะ คราวหน้าครูจะสอบย่อย” เขากล่าวทิ้งท้าย

หลังจากเดินออกจากชั้นเรียน เขานั่งตรวจงานที่นักเรียนส่งผ่านกูเกิ้ล และในคาบบ่ายเขามีสอนคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมปลายในเรื่องฟังก์ชันโดยมีเด็กพิเศษเรียนร่วมด้วย 2 คน “คราวนี้คงไม่หมูแน่” เขาคิดในใจ เมื่อเดินถึงห้องเกรด10 เขาแนะนำเพื่อนคนใหม่ “เขาชื่ออานนท์และเฉิน พวกเขาจะมาเรียนร่วมกับเรา” ครูแดงกล่าว และครูแดงก็ได้เริ่มบทเรียนด้วยการยกตัวอย่างสมการตัวแปรเดียวและสมการกำลังสอง “นักเรียนคิดอย่างไรกับสมการพวกนี้?” ครูแดงถาม ไม่มีใครตอบ “สมการตัวไหนเป็นฟังก์ชันบ้างครับ?”“ฟังก์ชันคืออะไรครับ?” ครูแดงถามอีก ไม่มีใครตอบอีก ไม่นานนักครูแดงก็เข้าบทเรียน เขาเริ่มด้วยโดเมนและเรนจ์ และอธิบายสมบัติของฟังก์ชัน 2 ข้อ อีกทั้งได้ยกตัวอย่างฟังก์ชันและไม่เป็นฟังก์ชัน เขาแจกใบงานในกูเกิ้ล นักเรียนนั่งทำแบบฝึกหัดในใบงาน ไม่นานนักเสียงกริ่งก็ดัง“ส่งใบงานและการบ้านด้วยนะ” เขากล่าวทิ้งท้ายด้วยน้ำเสียงเหนื่อยๆ

หลังจากเลิกโรงเรียน เขาเดินกลับที่พักภายในโรงเรียน ซึ่งเป็นเหมือนตู้คอนเทรนเนอร์เก็บของ ภายในมีแค่ที่นอนกับห้องน้ำเท่านั้น ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นใด นอกจากเครื่องทำความอุ่น และเขาก็นอนหลับไป...

เช้าวันรุ่งขึ้น ครูปรีชาก็นำครูคนใหม่ไปเยี่ยมชมโรงผลิตน้ำประปา ซึ่งผลิตน้ำประปาจากก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจนที่มีมากในดาวอังคาร และยังมีโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากน้ำขึ้น-น้ำลงที่เป็นพลังงานทดแทนจากเทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) นอกจากนี้ยังมีโรงงานผลิตรถยนต์ แต่รถยนต์ที่นี่ใช้พลังงานจากไฮโดรเจน ไม่เหมือนกับรถไอซ์ (Internal Combustion Engine) หรือรถ EV (Electric Vehicle) บนโลก

ในเย็นวันนั้นครูปรีชาได้พาครูแดงไปเลี้ยงอาหารที่ภัตตาคารแห่งหนึ่งบนตึกสูงที่สุดบนดาวอังคาร ส่วนอาหารนั้นก็แปลกประหลาดไม่แพ้กัน เริ่มจากซูชิจากแมลง ตัวไหมทอด เยลลี่ไข่มด ฯลฯ หลังจากทานอาหารเสร็จ ต่างคนก็แยกย้ายกันกลับที่พักของตน

ส่วนในวันอาทิตย์ ชาวดาวอังคารจะมากันที่โบสถ์คาธอลิค แต่ครูแดงเลือกที่จะไปวัดไทยในดาวอังคาร ภายในวัดมีพระสงฆ์เพียง 8-10 รูปเท่านั้น มีโรงทานแจกข้าวแกงทอด ส้มตำทอด และเบอร์เกอร์ข้าวจี่ด้วย หลังจากทำสังฆทานและสะเดาะนพเคราะห์เสร็จ เขาจึงแวะซื้อของห้างสรรพสินค้าชื่อดัง “Wal-Mart” เขาซื้อปากกาเลเซอร์สำหรับสอนและอาหารนิดหน่อยสำหรับมื้อค่ำ ก่อนจะเดินทางกลับด้วยรถไฟความเร็วสูงจากเมืองนิวแอตแลนติสใต้ทะเลผ่านอุโมงค์ใต้น้ำถึงเมือง High Mars เมืองหลวง ซึ่งใช้เวลาเพียง 35 นาทีเท่านั้น

 

แสดงเพิ่มเติม

รีวิว (0)

เรื่องนี้ยังไม่มีรีวิว