เด็กๆ ต้องคู่กับอะไร นิทานยังไงล่ะ

# #

 

 

เด็กๆ ต้องคู่กับอะไร นิทานยังไงล่ะ

 

                สวัสดีเพื่อนๆ ชาวธัญวลัยทุกคน วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปีเป็นวันอะไรเอ่ย ใครรู้ช่วยตอบหน่อยนะ... วันเด็กแห่งชาติ ใช่ไหมล่ะ ถ้าอย่างนั้นเรามาทำความรู้จักกับวันเด็กกันก่อนนะ

 

                วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งในปีนี้ ก็ตรงกับวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2560 นั่นเอง เท่านั้นยังไม่พอนะ เราต้องมารู้จักกันก่อนว่า เด็ก ในที่นี้หมายถึงอะไร จะใช่ เด็ก อย่างที่เราคิดไว้หรือเปล่า ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หน้า 442 ได้ให้ความหมายคำว่า เด็ก ไว้ว่า

 

                เด็ก หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย เด็กชาย หมายถึง คำนำหน้าชื่อเด็กผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีลงมา เด็กหญิง หมายถึง คำนำหน้าชื่อเด็กผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีลงมา

 

                ดังนั้น ใครที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ก็ยังเป็นเด็กกันอยู่นะ ถึงจะคิดว่าตัวเองโตแล้วก็เถอะนะ แต่ถ้าใครที่อายุเกินไปนานมากแล้ว แต่ยังอยากจะกลับมาเป็นเด็กอีกครั้ง ก็อ่านบทความนี้ให้จบ แล้วชีวิตจะกลับไปเป็นเด็กอีกครั้งหนึ่งเลย...

 

                เนื่องในวันเด็ก เมื่อพูดถึงเด็ก แล้วเด็กๆ จะต้องคู่กับอะไรล่ะ ห้ามตอบว่าเกมนะ เดี๋ยวหน้าร้าว เด็กๆ ที่น่ารักของธัญวลัยก็ต้องคู่กับนิทานสิ ใช่แล้ว... เด็กๆ ต้องคู่กับนิทาน เพราะภาพและตัวหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทานคือ โลกของภาษา

                การอ่านหนังสือให้เด็กๆ ฟังนั้น มีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเสมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของเด็ก

                และจะต้องเป็นนิทานที่เหมาะสมกับวัย และความสนใจของเด็กด้วยนะ

 

                อ้าว... แล้วเราจะรู้ได้ยังไงล่ะว่าเด็กในแต่ละวัยต้องการหรือสนใจอะไร โชคดีที่วันนี้ธัญวลัยทำการบ้านมาดี จึงนำการแบ่งช่วงวัยและความสนใจของเด็กมาให้เพื่อนๆ ได้ทำความเข้าใจ และบางทีนะ เราก็อาจจะนึกย้อนถึงตัวเองในช่วงเวลานั้นๆ ก็เป็นได้

 

                มาดูระดับช่วงอายุแรกกันเลย นั่นก็คือ วัยก่อนเข้าเรียน ไปจนถึง ชั้นอนุบาล อายุก็ประมาณ 4 5 ปี และเด็กๆ ในวัยนี้นะ อย่าให้ธัญวลัยต้องพูด! ดื้อที่สุด!

                เด็กๆ ในวัยนี้นะ เขาจะเริ่มสนใจถ้อยคำ สนุกสนานกับจังหวะต่างๆ เต้นกันทั้งวันล่ะงานนี้ ชอบสิ่งไร้สาระ สิ่งซ้ำซาก สนุกกับเรื่องเล่าซ้ำๆ ที่สำคัญ ถ้าจะให้เขาอ่านหนังสือหรือนิทาน ตัวหนังสือต้องตัวโตนะ เอาเท่าหม้อแกงไปเลย

                และคำก็ต้องง่ายๆ จำพวกคำโดด อ้อ... เด็กๆ จะรู้สึกมีความสนุกสนานมาก ถ้ามีส่วนร่วมในการตั้งชื่อคน สิ่งของ หรือสัตว์ที่พบเห็น และก็จะชอบฟังนิทานจากคุณครูหรือคุณพ่อคุณแม่ และชอบเรื่องที่จบลงด้วยความสุข มีเรื่องไหนบ้างนะที่จบอย่างมีความสุข...

 

# #

# #

 

                พอเด็กๆ สอบผ่านชั้นอนุบาล เด็กๆ ก็จะได้เลื่อนระดับชั้นไปเป็นพี่ๆ เด็กประถมฯ และในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1– 2 ซึ่งก็อยู่ในช่วงอายุ 6 – 7 ปี

                เด็กๆ ในวัยนี้ จะชอบพวกเรื่องสั้น หรือสนุกสนานกับเรื่องที่เป็นชุด แต่ต้องแบ่งเป็นตอนๆ และจบภายในตอนหนึ่งๆ นอกจากนี้เด็กๆ ยังเรียนรู้ที่จะอ่านและเขียน โดยเฉพาะเรื่องตลกขบขัน และเนื้อเรื่องที่มีความตื่นเต้น

 

# #

 

                เมื่อเด็กๆ เลื่อนชั้นขึ้นมาเป็นพี่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 34 อายุก็อยู่ในช่วงประมาณ 8– 9 ปี เด็กๆ ในวัยนี้ จะเลือกอ่านหนังสือเฉพาะเรื่องที่ตนสนใจ และชอบอ่านหนังสือที่เป็นชุด โดยเฉพาะหนังสือจำพวกงานอดิเรก กีฬา ชีวประวัติ ชีวิตในอดีต ประชาชนในดินแดน เรื่องลึกลับและเรื่องผี...

 

                เด็กๆ ในวัยนี้เขาไม่กลัวผีหลอกกันเหรอ ธัญวลัยกลัวจังเลย แต่ตอนนี้เราพักเรื่องผีเอาไว้ก่อน และไปดู ภาพตัวอย่างที่ ธัญวลัยนำมาฝากกันดีกว่า...

 

# #

 

                มาถึงช่วงชั้นสุดท้าย แต่ยังไม่ท้ายสุด ก่อนที่เด็กๆ จะไปขึ้นระดับชั้นมัธยม เด็กๆ ต้องผ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ ประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อน ซึ่งในตอนนี้เด็กๆ ก็จะมีอายุในระหว่าง 10– 11 ปี

 

                เด็กๆ ในวัยนี้ จะชอบอะไรกันนะ อ้อ... เด็กๆ ในวัยนี้จะชอบใช้เวลาไปกับการอ่านหนังสือ และหนังสือที่ชอบมากที่สุด ก็จำพวกหนังสือที่เกี่ยวกับอาชีพ เช่น นักบินอวกาศ นักบิน คุณหมอ คุณพยาบาล เป็นต้น แล้วตอนที่นักอ่านของธัญวลัยยังเป็นเด็กเล็กๆ มีความฝันกันไว้ว่าอย่างไรบ้าง... บอกหน่อยนะ

 

 

# #

# #

 

 

                ในที่สุด... ในที่สุด เด็กๆ ก็จะได้ขึ้นชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แล้ว ดีใจกันไหมเอ่ย ถ้าไม่ดีใจก็กลับไปเรียนชั้นประถมฯ ใหม่เลยนะ แต่ถ้าไม่อยากไปเรียนใหม่ ก็ต้องดีใจกันใช่ไหมล่ะ

 

                เพราะเด็กจะได้เจอเพื่อนใหม่ สภาพแวดล้อมใหม่ๆ คุณครูคนใหม่ พร้อมกับเริ่มจะเป็นวัยรุ่นแล้ว เพราะตอนนี้เด็กๆ ก็มีอายุประมาณ 13 – 14 ปีแล้ว พอมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ เด็กๆ ก็จะเปลี่ยนจากคำนำหน้าชื่อว่า เด็กชาย เป็น นาย และ เด็กหญิง เป็น นางสาว กันแล้ว

 

                แต่เด็กก็ยังเป็นเด็กนะจ๊ะ เด็กๆ ยังต้องอ่านนิทานเพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเด็กๆ ในวัยนี้จะเริ่มมีความสนใจหนังสือที่แบ่งตามเพศอย่างชัดเจน คือ เด็กชายจะชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับการผจญภัย วีรบุรุษ วีรสตรี และชอบอ่านหนังสือประเภทชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ กีฬา ฯลฯ

 

                ส่วนเด็กหญิงส่วนมากยังคงชอบเกี่ยวกับชีวิตภายในบ้าน ในโรงเรียน ชอบเรื่องรักๆ ใคร่ๆ เริ่ม

อ่านนวนิยายของผู้ใหญ่ ชอบเรื่องรักใคร่สะเทือนอารมณ์ และเรื่องที่แต่งเกินความจริง

                เผลอไปแป๊บเดียว เด็กๆ ในธัญวลัยก็จะเติบโตเป็นวัยรุ่นแล้ว เราไปดูกันเถอะว่าหนังสือตัวอย่างที่จะมาแนะนำให้เด็กๆ ในวัยนี้ได้อ่านกันเป็นอย่างไร

 

 # # 

# #

 

                รู้แล้วใช่ไหม ว่าเด็กกับนิทานเป็นของคู่กัน คุณพ่อคุณแม่คนไหนที่มีลูกน้อยน่ารักน่าชัง ก็อย่าลืมหานิทานมาอ่านให้ลูกฟังกันบ้างนะ เพราะภาพและตัวหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทานคือ โลกของภาษา ที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้ทั้งภาษา และการใช้ชีวิตประจำวัน

 

#

 

                แล้วเด็กๆ ก็อย่าลืมบอกให้คุณพ่อคุณแม่เล่านิทานสนุกๆ ให้ฟังด้วยนะ เพราะการเล่านิทานจะทำให้เด็กๆ ได้อยู่ใกล้ชิดกับคุณพ่อคุณแม่ เหมือนกับเป็นเวลาของครอบครัวเลยแหละ แล้วก็อย่ามัวแต่เล่นโทรศัพท์มือถือกันล่ะ หากคุณพ่อคุณแม่คนไหนไม่ยอมเล่านิทานให้ลูกฟัง เด็กๆ มาฟ้องธัญวลัยได้เลย เดี๋ยวธัญวลัยจะจัดการให้เอง แต่เดี๋ยวก่อนนะ คุณพ่อคุณแม่ก็เช่นกัน ถ้าลูกๆ มัวแต่เล่นโทรศัพท์มือถือ ก็มาฟ้องธัญวลัยได้เลย เดี๋ยวจะให้ผีไปหลอกเลย...

 

# #

 

                ก่อนจากกันไปในวันนี้ ธัญวลัยก็มีคำขวัญวันเด็กประจำปีพุทธศักราช 2560 ที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย ในขณะนี้ ได้มอบคำขวัญอันล้ำค่าให้กับเด็กไทย ว่า เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง

 

                สุขสันต์วันเด็กนะหนูๆ ที่น่ารักของธัญวลัยทุกคน พอโตเป็นผู้ใหญ่ก็อย่าลืมเข้ามาอ่านนิยายในเว็บไซต์ธัญวลัยแห่งนี้นะ... บ๊าย บาย

 

 

 

ขอขอบคุณภาพนิทาน จาก www.manager.co.th/Family

 

#

4.3kอ่านประกาศ 2017-01-13T09:51:17.3330000+00:00ลงประกาศ

แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นทั้งหมด ()
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น