ชวนอ่าน พระราชนิพนธ์ทรงคุณค่าในรัชกาลที่ ๙

 

ชวนอ่าน พระราชนิพนธ์ทรงคุณค่าในรัชกาลที่ ๙

 

ภาษาไทยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือของมนุษย์ชนิดหนึ่งคือเป็นทางสำหรับแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งสวยงามอย่างหนึ่ง เช่น ในทางวรรณคดี เป็นต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี

พระราชดำรัสในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๒๔ กรกฎาคม ๒๕๐๕

 

พระราชดำรัสข้างต้นนั้นแสดงถึงความสนพระราชหฤทัยในด้านอักษรศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นอกจากนี้ยังปรากฏในพระราชดำรัสอื่นๆ และพระบรมราโชวาทในโอกาสต่างๆ อีกมากมาย อันเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวไทยเสมอมาว่าพระองค์ทรงให้ความสำคัญในด้านภาษาและวรรณกรรมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่างานด้านอื่นๆ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงแสดงพระอัจฉริยภาพด้านภาษาผ่านทางพระราชนิพนธ์ไว้หลายต่อหลายเรื่อง ทั้งที่ทรงประพันธ์ขึ้นเอง และทรงแปลจากต้นฉบับภาษาต่างประเทศ

 

#(http://image.free.in.th/v/2013/ib/151203025257.jpg)

 

. เมื่อข้าพเจ้าจากสยามสู่สวิทเซอร์แลนด์

            พระราชนิพนธ์เรื่อง เมื่อข้าพเจ้าจากสยามสู่สวิทเซอร์แลนด์ เป็นบันทึกประจำวันของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในช่วงหลังจากที่ทรงขึ้นสืบสันตติวงศ์และเสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิทเซอร์แลนด์เมื่อปี ๒๔๘๙ ซึ่งพระองค์ท่านได้พระราชทานให้ตีพิมพ์ในวารสารวงวรรณคดี เป็นครั้งแรก พระองค์ได้ถ่ายทอดถึงประสบการณ์และความรู้สึกต่างๆ จากสิ่งที่พระองค์พบเจอ

            ความตอนหนึ่งจากพระราชนิพนธ์เรื่อง เมื่อข้าพเจ้าจากสยามสู่สวิทเซอร์แลนด์ ทรงเขียนเล่าไว้ว่า

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนอยู่ในยุโรป ข้าพเจ้าไม่เคยตระหนักว่าประเทศของข้าพเจ้าคืออะไร และเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าแค่ไหน ไม่ทราบตราบจนกระทั่งข้าพเจ้าได้เรียนรู้ที่จะรักประชาชนของข้าพเจ้า เมื่อได้มีการติดต่อกับเขาเหล่านั้น ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าสำนึกในความรักอันมีค่ายิ่ง ข้าพเจ้าไม่เป็นโรคคิดถึงบ้านที่จริงจังอะไรนัก แต่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้โดยการทำงานที่นี่ว่า ที่ของข้าพเจ้าในโลกนี้ คือการที่ได้อยู่ท่ามกลางประชาชนของข้าพเจ้า นั่นคือคนไทยทั้งปวง

นับว่าเป็นพระราชนิพนธ์ที่อ่านแล้วรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นอย่างยิ่ง

*ขอใช้คำว่า สวิทเซอร์แลนด์ตามเนื้อความในบทพระราชนิพนธ์

 

. พระมหาชนก และพระมหาชนกฉบับการ์ตูน

##

(http://www.komkid.com/wp-content/uploads/2011/12/mahajanaka-book.jpg)

(http://img.tarad.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_2009101162809_b.jpg)

 

            พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดพิมพ์พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก ซึ่งมีทั้งภาคภาษาไทยและภาคภาษาอังกฤษอยู่ในเล่มเดียวกัน ในโอกาสเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาลที่ ๙ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ โดยพระองค์ทรงศึกษาจากพระไตรปิฎก ในตอนชนกชาดก ทรงแปลและปรับเปลี่ยนภาษาให้อ่านและเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก มีภาพวาดโดยศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ที่สำคัญที่สุดคือมีภาพฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอยู่ด้วย เช่น ภาพวันที่เรือล่ม โดยมีแผนที่อากาศแสดงเส้นทางพายุจริงๆ และภาพพระมหาชนกทรงว่ายน้ำโดยมีนางมณีเมขลาเหาะอยู่เบื้องบน เป็นต้น

ทั้งนี้ใน พ..๒๕๔๒ พระองค์ได้ทรงโปรดฯ ให้จัดพิมพ์ พระมหาชนกฉบับการ์ตูนเพิ่มเติม เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ถึงคำสอนของเรื่อง

ข้อคิดจากพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก ที่สำคัญคือกล่าวถึงความหมั่นเพียร ความอุตสาหะ ซึ่งพระมหาชนกเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติ เป็นหนังสือที่ดีและทรงคุณค่า

 

. ทองแดง

 #

(http://www.vcharkarn.com/uploads/115/115650)

 

เรื่อง ทองแดง เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงเล่าเรื่องราวของ คุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยงที่ใครๆ ต่างก็รู้จัก ความกตัญญูรู้คุณ ความจงรักภักดี และมีมารยาททำให้คุณทองแดงมีชื่อเสียงในหมู่ปวงชนชาวไทย นอกจากเรื่องราวในเล่มจะเต็มไปด้วยความสนุกสนานแล้ว พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ยังแฝงด้วยข้อคิดและคติธรรม#

(http://2g.pantip.com/cafe/library/topic/K3118565/K3118565-0.jpg)

 

            เรื่อง ทองแดง ตีพิมพ์ครั้งแรกใน พ.. ๒๕๔๑ ทั้งยังติดอันดับหนังสือขายดีที่สุดของประเทศใน พ.. ๒๕๔๕ โดยเผยแพร่ทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษในเล่มเดียวกัน ซึ่งต่อมาใน พ..๒๕๔๗ ได้มีการจัดทำเรื่องทองแดงในแบบลายเส้น หรือ ทองแดงฉบับการ์ตูน

 

. นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ

##

(http://library.thaihealth.or.th/ULIB//_fulltext/cover/1402/20130218135918_2529.jpg)

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/239/239/images/in.jpg)

 

          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงทรงแปลเรื่อง นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ มาจาก A Man Called Intrepid ของ William Stevenson อันเป็นวรรณกรรมที่มาจากเรื่องจริง โดยเป็นเรื่องราวของ “Intrepid” หรือที่พระองค์ทรงใช้พระอัจฉริยภาพด้านการแปล แปลเป็นชื่อภาษาไทยว่า นายอินทร์ ซึ่งเป็นรหัสที่ใช้เรียก เซอร์วิลเลียม สตีฟเฟนสัน หัวหน้าหน่วยราชการลับของประเทศอังกฤษ เขาและสายลับอีกจำนวนหนึ่งเป็นกลุ่มคนที่เสียสละปลอมตัวเข้าไปล้วงความลับของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เพื่อต่อต้านและทำลายแผนการของฮิตเลอร์ โดยเมื่อสงครามจบลง ไม่มีใครรู้ถึงปฏิบัติการของพวกเขาจนกระทั่งหนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงแปลเป็นภาษาไทยเพื่อให้พวกเราปวงชนชาวไทยได้อ่านตัวอย่างของกลุ่มผู้กล้าหาญที่ทำงานปิดทองหลังพระ เสียสละเพื่อส่วนรวม โดยไม่มีผู้ใดล่วงรู้ และมิได้หวังคำสรรเสริญจากใคร กล่าวโดยสรุปได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องของคนดีที่มีลักษณะแบบที่ประเทศชาติต้องการ

 

. ติโต

#

(http://www.vcharkarn.com/uploads/115/115644.jpg)

 

ติโต เป็นเรื่องจริงจากประวัติของ “Josip Broz” หรือนายพลติโต ผู้นำคอมมิวนิสต์คนแรกและประธานาธิบดีของประเทศยูโกสลาเวีย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงแปลจากหนังสือเรื่องTito ของ Phyllis Auty เมื่อพ..๒๕๑๙ เพื่อให้ปวงชนชาวไทยได้ทราบเรื่องราวของบุคคลที่น่ายกย่อง เพราะนายพลติโตผู้นี้ปกครองประชาชนในดินแดนที่มีแต่ความขัดแย้งโดยให้สิทธิทุกคนเท่าเทียมกัน เขาเป็นผู้เปลี่ยนแปลงประเทศยูโกสลาเวียในยุคของเขาให้มั่นคง สร้างความสามัคคีของคนในชาติ ทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าอย่างที่ควรเป็น จะเห็นได้ว่าผู้นำที่ดีมีส่วนทำให้ประเทศชาติเป็นปึกแผ่น

 

สุดท้ายนี้ ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทที่เกี่ยวข้องกับงานเขียนมาเพื่อให้ทุกท่านได้ยึดเป็นหลักในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานประพันธ์ ซึ่งในฐานะนักเขียนนั้นควรยึดถือและปฏิบัติตาม

 

นักเขียน นักประพันธ์ งานสำคัญก็คือ แสดงความคิดของตนออกมาเป็นเรื่องชีวิต หรือเรื่องแต่งขึ้นมา เพื่อให้ผู้อื่นได้ประโยชน์ คือความรู้บ้าง บันเทิงบ้าง นักแสดงความคิดสำคัญมาก เพราะว่ามีอิทธิพลต่อชีวิตของมวลมนุษย์ อาจทำให้เกิดความคล้อยตามไป และตัวท่านเขียนดีก็ยิ่งคล้อยตามกันมาก ฉะนั้น นักประพันธ์ต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะท่านเป็นผู้ปั้นความคิดและความบริสุทธิ์ในความคิดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังบทความกลั่นกรองไว้ในสมองว่า สิ่งที่จะเขียนออกมาจะไม่แสลง ไม่ทำลายความคิดของประชากร ไม่ทำลายผู้อื่น และตนเอง คือมีเสรีภาพในการเขียนอย่างเต็มที่ในขอบเขตของศีลธรรม

พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะกรรมการสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ณ พระตำนักจิตรลดารโหฐาน

๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๕

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

พระราชดำรัสในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๒๔ กรกฎาคม ๒๕๐๕

พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะกรรมการสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ณ พระตำนักจิตรลดารโหฐาน

๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๕

เอกกษัตริย์อัจฉริยะ พรจากพ่อ ผู้เปี่ยมพระอัจฉริยภาพ การอภิปราย "ในหลวงของเรา" คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ใน Thaicoon ฉบับเดือนมกราคม ๒๕๕๐

http://www.vcharkarn.com/varticle/38236

http://www.praew.com/59772/king-of-thailand/

http://raorakprajaoyuhua.com/bio/gen11

http://stang.sc.mahidol.ac.th/bookfair/Oldweb/Article007.htm

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=169420

http://oknation.nationtv.tv/blog/kakalot/2007/12/06

4.5kอ่านประกาศ 2016-10-21T06:20:04.3530000+00:00ลงประกาศ

แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นทั้งหมด ()
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น