Writer's Tip & Trick 02: การเล่าเรื่องด้วยสรรพนามบุรุษที่ 1 2 และ 3

Writer's Tip & Trick vol.2: การเล่าเรื่องด้วยสรรพนามบุรุษที่  1 2 และ 3

 

หลังจากเรียนรู้เรื่องการเขียนพล็อต เรื่องย่อ และการกำหนดธีมไปแล้ว เคล็ดลับนักเขียน ตอนที่ นี้ขอเสนอเรื่องการบรรยายด้วยสรรพนามบุรุษที่ 1 2 และ 3 ว่าแตกต่างกันอย่างไร แล้วควรจะเลือกใช้แบบไหนในการเขียนเรื่องของเราให้มีผู้อ่านติดตามไม่เว้นวัน

 

สรรพนามบุรุษที่ 1: คือการเล่าเรื่องผ่านมุมมองของตัวละครเพียงตัวเดียว  และมักเป็นตัวละครหลักของเรื่อง หรือเป็นการเล่าโดยใช้คำสรรพนามเช่น ฉัน ดิฉัน ผม ข้า หนู เป็นต้น จุดเด่นของการบรรยายประเภทนี้คือเน้นเหตุการณ์ที่ตัวละครตัวนี้ไปพบเจอมา แล้วเล่าให้เราฟัง เช่น

 

ฉันตื่นนอนขึ้นมาและพบว่าข้างนอกยังเป็นเวลากลางคืนอยู่ แต่นาฬิกาบอกเวลาแปดโมงเช้าแล้ว

“พ่อคะ แม่คะ” ฉันตะโกนเรียกแต่ไม่มีเสียงตอบ แม้แต่น้องชายจอมแสบก็หาตัวไม่เจอ ทุกคนหายไปไหนกันหมดนะ

เมื่อสำรวจรอบบ้านแล้วไม่พบใคร ฉันจึงเดินออกจากบ้านท่ามกลางความมืด นาฬิกาเรือนอื่นๆ บอกเวลาแปดโมงเช้าเหมือนกันหมด ต้องไม่ใช่เรื่องปกติแน่

 

ข้อดี: เล่าเรื่องง่าย เล่าผ่านตัวละครเดียว และอธิบายความคิดเห็นของตัวละรได้ชัดเจน มีความต่อเนื่องเพราะต้องมีตัวละครนี้อยู่ทุกฉากทุกตอนตลอดเรื่อง

ข้อด้อยเพราะเล่าผ่านมุมมองของคนคนเดียว จึงไม่อาจบรรยายความคิดของตัวละครอื่น หรือการกระทำและฉากอื่นๆ ที่ไม่มีตัวละครนี้ร่วมอยู่ด้วยได้ เช่น จะตัดไปยังฉากนอกโลกที่มีมนุษย์ต่างดาวคุยกันโดยไม่มีเราไม่ได้

ตัวอย่างนิยาย:

The Hunger Games บรรยายผ่านแคทนิส

Divergent บรรยายผ่านนางเอก

ฤดูร้อน ดอกไม้ไฟ และร่างไร้วิญญาณของฉัน บรรยายผ่านศพ

 

สรรพนามบุรุษที่ 2: คือการเล่าเรื่องถึงตัวละคร ในมุมมองของตัวละคร  เช่น แม่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพ่อว่าก่อนแต่งงานเขาตามจีบตามง้อแม่อย่างไรบ้าง เป็นต้น หรืออีกวิธีหนึ่งคือการสมมติว่าให้ผู้อ่านเป็นผู้เดินเรื่อง โดยใช้สรรพนามว่า คุณ เช่น

 

คุณตื่นนอนขึ้นมาและพบว่าข้างนอกยังเป็นเวลากลางคืนอยู่ แต่นาฬิกาบอกเวลาแปดโมงเช้าแล้ว

“พ่อคะ แม่คะ” คุณตะโกนเรียกแต่ไม่มีเสียงตอบ แม้แต่น้องชายจอมแสบของคุณเองก็หาตัวไม่เจอ ทุกคนหายไปไหนกันหมดนะ

เมื่อสำรวจรอบบ้านแล้วไม่พบใคร คุณจึงเดินออกจากบ้านท่ามกลางความมืด นาฬิกาเรือนอื่นๆ บอกเวลาแปดโมงเช้าเหมือนกันหมด ต้องไม่ใช่เรื่องปกติแน่

 

ข้อดี: ทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วม เสมือนตัวเองเข้าไปอยู่ในหนังสือ และต้องตัดสินใจเมื่อถึงเวลาคับขัน

ข้อด้อย: วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมเพราะบรรยายยาก และอาจไม่ทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมได้เท่าที่ควร หากจะบรรยายโดยวิธีนี้จะต้องมีความสามารถในการบรรยายระดับหนึ่ง

ตัวอย่างนิยาย:

- เชอร์ล็อก โฮล์ม วัตสันเพื่อนของโฮล์มเป็นคนบรรยายการกระทำของโฮล์ม

- นิยายที่เป็นเกมทางเลือก ให้เราเลือกเหตุการณ์ต่างๆ และมีฉากจบหลายแบบขึ้นอยู่กับการเลือกของเราในแต่ละข้อ

 

สรรพนามบุรุษที่ 3: คือการบรรยายในมุมมองของผู้เขียนทั้งหมด อารมณ์ประมาณว่า ผู้เขียนคือพระเจ้า อยากเล่าอะไรก็เล่า จะเขียนฉากไหน ใครพูดกับใคร อย่างไรก็ได้อย่างอิสระ เป็นวิธีที่นิยมเขียนมากที่สุดเพราะเล่าเรื่องได้กว้างและเห็นภาพชัดเจน

เช่น

 

มีนาตื่นนอนขึ้นมาและพบว่าข้างนอกยังเป็นเวลากลางคืนอยู่ แต่นาฬิกาบอกเวลาแปดโมงเช้าแล้ว

“พ่อคะ แม่คะ” เด็กสาวตะโกนเรียกแต่ไม่มีเสียงตอบ แม้แต่น้องชายจอมแสบของเธอเองก็หาตัวไม่เจอ ทุกคนหายไปไหนกันหมดนะ

เมื่อสำรวจรอบบ้านแล้วไม่พบใคร มีนาจึงเดินออกจากบ้านท่ามกลางความมืด นาฬิกาเรือนอื่นๆ บอกเวลาแปดโมงเช้าเหมือนกันหมด ต้องไม่ใช่เรื่องปกติแน่

 

ข้อดี: มีอิสระในการเล่าเรื่องเพราะไม่จำกัดมุมมอง จะสลับไปยังฉากที่ไม่มีพระเอกนางเอกก็ได้

ข้อด้อย: หากตัดสลับฉากเยอะเกินอาจทำให้ผู้อ่านสับสน และต้องคุมการบรรยายให้ดีและมีเหตุผลว่าทำไมถึงเปลี่ยนมาเดินเรื่องด้วยตัวละครนี้

ตัวอย่างนิยาย:

-          Harry Potter

-          Maze Runner

-          อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย

 

 

โดยหลักแล้ว การเล่าเรื่องทั้ง แบบนั้นจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือเรื่อง “มุมมอง” ของตัวละคร ซึ่งขึ้นยู่กับว่านักเขียนมีความชอบหรือถนัดด้านไหนมากกว่ากัน แต่มีข้อพึงระวังในการเขียนอย่างหนึ่งคือ ไม่ควรเปลี่ยนการเล่าเรื่องตามใจชอบ เช่น เราเขียนเรื่องด้วยบุรุษที่ มาตลอดทั้งเรื่อง แต่ตอนท้ายอยากเล่าว่าเพื่อนๆ เตรียมจัดงานวันเกิดให้ตัวเอกแต่ปิดไม่ให้รู้ แล้วตัดไปยังฉากที่เพื่อนๆ กำลังช่วยเตรียมงานและพูดคุยกันสนุกสนานว่า อย่าให้เจ้าตัวรู้ล่ะ เป็นต้น เพราะนอกจากผู้อ่านจะอารมณ์ค้างแล้ว ยังแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพของเราด้วยนะ 

 

21.9kอ่านประกาศ 2014-09-23T07:01:14.7930000+00:00ลงประกาศ

แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นทั้งหมด ()
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น